การบริหารจัดการด้านความยั่งยืนองค์กร

โครงสร้างการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนองค์กร

คณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญกับการผลักดัน พีทีจี สู่การดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ และคณะทำงานกำกับดูแลกิจการ เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนองค์กรให้เป็นไปตามมาตรฐาน และตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

นโยบายความยั่งยืนองค์กร

พีทีจี ตระหนักดีถึงการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ และการคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม บริษัทจึผนวกความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืนเข้ากับกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัท เพื่อเน้นย้ำความพยายามในการรักษาสมดุลระหว่างการดำเนินงานเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม บริษัทได้ประกาศและบังคับใช้นโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืนซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาความยั่งยืนของสหประชาชาติ (United Nation Sustainable Development Goals) เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงสร้างความตระหนักของพนักงานในการมีส่วนร่วมเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน ทั้งนี้ พีทีจี มีการทบทวนนโยบายเป็นประจำทุกปี เพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับแนวโน้มการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปตามความท้าทายที่เกิดขึ้นใหม่

ดาวน์โหลดนโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืน

กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนองค์กร

การกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance)
- มุ่งสร้างวัฒนธรรมการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ โปร่งใส และตรวจสอบได้
การส่งมอบประสบการณ์ที่ดีและมีคุณค่าตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Inspire & Enable)
- มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์รูปแบบใหม่ที่สะดวกสบายและมีคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อการเติบโตทางธุรกิจในระยะยาว
การขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเป็นเลิศ (Transform)
- การมุ่งขับเคลื่อนองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย เป็นธรรม และสร้างขีดความสามารถให้บุคลการในการสรรสร้างนวัตกรรม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การสร้างคุณค่าร่วมกับสังคมและสิ่งแวดล้อม (Engage & Co-create)
- มุ่งดำเนินการสร้างความสัมพันธ์และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่สังคมและชุมชน และรักษาสิ่งแวดล้อม

ดาวน์โหลดกลยุทธ์ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผลการดำเนินงาน

ทิศทางกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนองค์กร เป้าหมายระยะสั้น/ระยะยาว ผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย
Good Corporate Governance - สร้างวัฒนธรรมการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ โปร่งใส ตรวจสอบได้ - รักษาระดับ “ดีเลิศ” จากการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน - ได้รับคะแนนผลสำรวจการกำกับดูแลกิจการ 95% อยู่ในระดับ “ดีเลิศ” และ Top quartile ในกลุ่มบริษัทตามมูลค่าราคาตลาดมากกว่า 10,000 ล้านบาท
Inspire & Enable - สร้างประสบการณ์รูปแบบใหม่ที่สะดวกสบายและมีคุณค่าให้ผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อการเติบโตทางธุรกิจในระยะยาว -  จำนวนโครงการจากการร่วมมือกับสตาร์ทอัพ อย่างน้อย 5 โครงการ
-  เป็นที่หนึ่งใจลูกค้า โดยมีผลสำรวจความพึงพอใจของลูกค้ากลุ่มผู้ประกอบการ > 80% และลูกค้ากลุ่มผู้บริโภค > 90% ในปี 2565
-  สามารถสร้างรายได้จากโครงการนวัตกรรมที่เริ่มมีการขยายผลไปสู่ธุรกิจ (Scale up)
- จำนวนโครงการจากการร่วมมือกับ สตาร์ทอัพ 5 โครงการ 
- ผลสำรวจความพึงพอใจของลูกค้ากลุ่มผู้ประกอบการ = 85% และลูกค้ากลุ่มผู้บริโภค = 90.48%
- รายได้จากธุรกิจในโครงการนวัตกรรม 41.1 ล้านบาท
Transform - สร้างสภาพแวดล้อมที่ปราศจากอุบัติเหตุจากการทำงาน - อัตราการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตจากการทำงานเป็นศูนย์ - กรณีการเสียชีวิตของพนักงาน 1 (ไม่มีการเสียชีวิตของผู้รับเหมา) LITFR พนักงาน 0.69, ผู้รับเหมา 0.80 และ OIFR พนักงาน 0*
- เคารพหลักสิทธิมนุษยชน - จำนวนการอบรมพนักงานเรื่องสิทธิมนุษยชนและแรงงาน 18 ครั้ง ในปี 2565
- จำนวนข้อร้องเรียนและถูกฟ้องร้องเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็น 0
- จำนวนการอบรมพนักงานเรื่องสิทธิมนุษยชนและแรงงาน 38 ครั้ง
- ไม่มีข้อร้องเรียนที่ถูกฟ้องร้องเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน
- พัฒนาศักยภาพและความผูกพันพนักงานรองรับการเติบโตของธุรกิจ - ร้อยละ 50 ของพนักงานบริษัทได้รับการพัฒนาศักยภาพ ในปี 2565
- ผลสำรวจความผูกพันพนักงาน > 78% ในปี 2565
- 59.50% ของพนักงานบริษัทได้รับการพัฒนาศักยภาพตามตำแหน่งงาน
- ผลสำรวจความผูกพันพนักงาน = 70%
- สร้างนวัตกรรมกระบวนการรองรับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ ๆ - จำนวนโครงการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน 191 โครงการ ในปี 2565 - จำนวนโครงการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน 238 โครงการ
Engage & Co-create - สร้างความสัมพันธ์และการยอมรับจากชุมชนต่อการดำเนินธุรกิจ -  ผลสำรวจความพึงพอใจของชุมชน 94.63% - ผลสำรวจความพึงพอใจของชุมชน = 91.06%
- สร้างความร่วมมือกับชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต - มีการริเริ่มโครงการการสร้างคุณค่าร่วมใหม่อย่างน้อย 1 โครงการ โดยสามารถสร้างผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรมสู่ชุมชนได้ภายในปี 2566
- ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment: SROI) ของโครงการการสร้างคุณค่าร่วมกับชุมชนในสัดส่วนมากกว่า 1:1 ภายในปี 2570
- พัฒนาแผนการดำเนินโครงการตามแนวคิดการสร้างคุณค่าร่วมกับชุมชน โดยได้มีการลงพื้นที่สำรวจและหารือกับคนในชุมชนเพื่อพัฒนาโครงการร่วมกันในปี 2566 และนำมาวัดผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน
- บริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ - สามารถกำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับองค์กรภายในปี 2566
- ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากโครงการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปที่สถานีบริการให้ได้ 6,794 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี 2570
- ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลก๊าซเรือนกระจก Scope 1-3 ในขอบเขต สำนักงานใหญ่ คลังน้ำมัน  Fleet ขนส่งและสถานีบริการ                                            
-  สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากโครงการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปที่สถานีบริการ 43.89 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในปี 2566
- ยกระดับประสิทธิภาพเชิงนิเวศในการปฏิบัติการ - ปริมาณการรั่วไหลของน้ำมันที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อพื้นดินหรือแหล่งน้ำเป็นศูนย์ (บาร์เรล)
- สัดส่วนปริมาณการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยรายบุคคล (kWh/คน) ในสำนักงานใหญ่ลดลง 10% จากปีฐาน (2562) ในปี 2564
- สัดส่วนปริมาณไฟฟ้าต่อยอดขายน้ำมันผ่านสถานีบริการและคลังน้ำมัน (kWh/ลิตร) รวมถึงปริมาณน้ำต่อยอดขายน้ำมันผ่านคลังน้ำมัน (ลูกบาศก์เมตร/ลิตร) ลดลง 5% จากปีฐาน ในปี 2564
- การรั่วไหลของน้ำมันและสารเคมีอย่างมีนัยสำคัญ (มากกว่า 100 บาร์เรล/ ครั้ง) = 0 ครั้ง
- ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยรายบุคคลในสำนักงานใหญ่ลดลงจากปีฐาน 18.73 %
- สัดส่วนปริมาณไฟฟ้าต่อยอดขายน้ำมันผ่านคลังน้ำมัน ลดลงจากปีฐาน (2562) 26.21%    
   สัดส่วนปริมาณไฟฟ้าต่อยอดขายน้ำมันผ่านสถานีบริการ COCO ลดลงจากปีฐาน (2561) 65.96% และ
   สัดส่วนปริมาณน้ำประปาต่อยอดขายผ่านคลังน้ำมันลดลงจากปีฐาน (2563) 45.02 %

10076

10074

Loading...