ความยั่งยืน

การบริหารจัดการด้านความยั่งยืนองค์กร

โครงสร้างการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนองค์กร

   

คณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญกับการผลักดัน พีทีจี สู่การดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยได้มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ คณะทำงานกำกับดูแลกิจการ และคณะทำงานพัฒนาความยั่งยืนองค์กร เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนองค์กรให้เป็นไปตามมาตรฐาน และตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

นโยบายความยั่งยืนองค์กร
พีทีจี ตระหนักดีถึงการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ และการคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม บริษัทจึงผนวกความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืนเข้ากับกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัทเพื่อเน้นย้ำความพยายามในการรักษาสมดุลระหว่างการดำเนินงานเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมบริษัทได้ประกาศและบังคับใช้นโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืนซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาความยั่งยืนของสหประชาชาติ (United Nation Sustainable Development Goals) เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงสร้างความตระหนักของพนักงานในการมีส่วนร่วมเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน ทั้งนี้ พีทีจี มีการทบทวนนโยบายเป็นประจำทุกปี เพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับแนวโน้มการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปตามความท้าทายที่เกิดขึ้นใหม่



กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนองค์กร

การกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance)

- มุ่งสร้างวัฒนธรรมการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ โปร่งใส และตรวจสอบได้

การส่งมอบประสบการณ์ที่ดีและมีคุณค่าตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Inspire & Enable)

- มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์รูปแบบใหม่ที่สะดวกสบายและมีคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อการเติบโตทางธุรกิจในระยะยาว

การขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเป็นเลิศ (Transform)

- การมุ่งขับเคลื่อนองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย เป็นธรรม และสร้างขีดความสามารถให้บุคลการในการสรรสร้างนวัตกรรม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การสร้างคุณค่าร่วมกับสังคมและสิ่งแวดล้อม (Engage & Co-create)

- มุ่งดำเนินการสร้างความสัมพันธ์และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่สังคมและชุมชน และรักษาสิ่งแวดล้อม


การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

พีทีจี ตระหนักถึงความสําคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จในการสร้างคุณค่าของธุรกิจในระยะยาว บริษัทจึงได้มีการวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียเพื่อกำหนดกลยุทธ์การสร้างการมีส่วนร่วมที่เหมาะสม โดยมีขั้นตอนดังนี้  

1.ระบุผู้มีส่วนได้เสียที่มีความสําคัญต่อธุรกิจ โดยพิจารณาความสัมพันธ์ของผู้มีส่วนได้เสียต่อการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน  

2. ประเมินผลกระทบเชิงบวกและลบของผู้มีส่วนได้เสียต่อธุรกิจและผลกระทบที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับจากธุรกิจ เพื่อดําเนินการวางแผนและสร้างช่องทางมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มอย่างเหมาะสมต่อไป                                                                           

3. ดําเนินการจัดลําดับผู้มีส่วนได้เสียตามระดับผลกระทบที่มีต่อธุรกิจ ทั้งด้านการเงิน การดําเนินงานตามกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ภาพลักษณ์และชื่อเสียง ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม  

4. นำผลวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียเสนอต่อคณะทํางานพัฒนาความยั่งยืนองค์กร คณะทํางานกํากับดูแลกิจการและคณะกรรมการกํากับดูแลกิจการ เพื่อพิจารณาความเหมาะสม

ผลการวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องของผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของ พีทีจี

แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

พีทีจี จัดทำการสำรวจเพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย และนำข้อมูลมารวบรวมเพื่อวิเคราะห์และใช้ในการปรับปรุงพัฒนากลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อตอบนสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยผลจากการสำรวจพบว่าประเด็นที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสำคัญมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ การเติบโตทางธุรกิจ การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า และการกำกับดูแลกิจการ บริษัทได้พิจารณาประเด็นต่าง ๆ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานและสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียรับทราบแนวทางและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นผ่านช่องทางและกิจกรรมต่าง ๆ โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในรายงานความยั่งยืนประจำปี 2564


ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

ในปี 2564 บริษัท ได้ทำการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน ตามแนวทางของ Global Reporting Initiative (GRI) โดยคำนึงถึงระดับอิทธิพลต่อการประเมินและการตัดสินใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและขอบเขตของกระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียจะครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยพิจารณาจากความเกี่ยวข้องทางธุรกิจ ผลกระทบที่เป็นไปได้จากการดำเนินงาน และความพร้อมของข้อมูลตลอดจนผลกระทบที่อาจส่งผลต่อภายนอกองค์กร


    พีทีจีได้ทําการประเมินประเด็นสําคัญด้านความยั่งยืนตามแนวทางของ Global Reporting Initiative (GRI) เพื่อนำไปสู่การพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการแต่ละประเด็นอย่างเหมาะสมต่อไป โดยบริษัทมีขั้นตอนในการระบุประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน ดังนี้

ผลการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน ในปี 2564

พีทีจี ได้มีการทบทวนประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน โดยศึกษาแนวโน้มของธุรกิจ ความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล รวมถึงประเด็นสำคัญของธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งส่งผลให้มีการเพิ่มเติมประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัทจากปีก่อนหน้า 2 ประเด็น คือ ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน และความปลอดภัยทางไซเบอร์ และมีการปรับชื่อประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน 2 ประเด็น คือ ความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน และ การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แทนการมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม และการจัดการด้านสภาพภูมิอากาศ ตามลำดับ


การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

พีทีจี ตระหนักถึงความสําคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จในการสร้างคุณค่าของธุรกิจในระยะยาว บริษัทจึงได้มีการวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียเพื่อกำหนดกลยุทธ์การสร้างการมีส่วนร่วมที่เหมาะสม โดยมีขั้นตอนดังนี้  

1.ระบุผู้มีส่วนได้เสียที่มีความสําคัญต่อธุรกิจ โดยพิจารณาความสัมพันธ์ของผู้มีส่วนได้เสียต่อการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน  

2. ประเมินผลกระทบเชิงบวกและลบของผู้มีส่วนได้เสียต่อธุรกิจและผลกระทบที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับจากธุรกิจ เพื่อดําเนินการวางแผนและสร้างช่องทางมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มอย่างเหมาะสมต่อไป                                                                           

3. ดําเนินการจัดลําดับผู้มีส่วนได้เสียตามระดับผลกระทบที่มีต่อธุรกิจ ทั้งด้านการเงิน การดําเนินงานตามกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ภาพลักษณ์และชื่อเสียง ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม  

4. นำผลวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียเสนอต่อคณะทํางานพัฒนาความยั่งยืนองค์กร คณะทํางานกํากับดูแลกิจการและคณะกรรมการกํากับดูแลกิจการ เพื่อพิจารณาความเหมาะสม

ผลการวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องของผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของ พีทีจี

แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

พีทีจี จัดทำการสำรวจเพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย และนำข้อมูลมารวบรวมเพื่อวิเคราะห์และใช้ในการปรับปรุงพัฒนากลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อตอบนสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยผลจากการสำรวจพบว่าประเด็นที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสำคัญมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ การเติบโตทางธุรกิจ การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า และการกำกับดูแลกิจการ บริษัทได้พิจารณาประเด็นต่าง ๆ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานและสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียรับทราบแนวทางและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นผ่านช่องทางและกิจกรรมต่าง ๆ โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในรายงานความยั่งยืนประจำปี 2564


ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

ในปี 2564 บริษัท ได้ทำการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน ตามแนวทางของ Global Reporting Initiative (GRI) โดยคำนึงถึงระดับอิทธิพลต่อการประเมินและการตัดสินใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและขอบเขตของกระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียจะครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยพิจารณาจากความเกี่ยวข้องทางธุรกิจ ผลกระทบที่เป็นไปได้จากการดำเนินงาน และความพร้อมของข้อมูลตลอดจนผลกระทบที่อาจส่งผลต่อภายนอกองค์กร


    พีทีจีได้ทําการประเมินประเด็นสําคัญด้านความยั่งยืนตามแนวทางของ Global Reporting Initiative (GRI) เพื่อนำไปสู่การพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการแต่ละประเด็นอย่างเหมาะสมต่อไป โดยบริษัทมีขั้นตอนในการระบุประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน ดังนี้

ผลการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน ในปี 2564

พีทีจี ได้มีการทบทวนประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน โดยศึกษาแนวโน้มของธุรกิจ ความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล รวมถึงประเด็นสำคัญของธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งส่งผลให้มีการเพิ่มเติมประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัทจากปีก่อนหน้า 2 ประเด็น คือ ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน และความปลอดภัยทางไซเบอร์ และมีการปรับชื่อประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน 2 ประเด็น คือ ความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน และ การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แทนการมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม และการจัดการด้านสภาพภูมิอากาศ ตามลำดับ


Loading...