การบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน
เป้าหมายการดำเนินงาน
หัวข้อ
|
ผลการดำเนินงาน | เป้าหมาย | ||
2565 | 2566 | 2566 | 2570 | |
จำนวนครั้งในการอบรมพนักงานเรื่องสิทธิมนุษยชนและแรงงาน | 18 ครั้ง | 20 ครั้ง | 40 ครั้ง | - |
สัดส่วนความครอบคลุม PTG และบริษัทย่อยที่ได้รับการอบรมเรื่องสิทธิมนุษยชนและแรงงาน | - | 33.33% | 33.33% | 100% |
สถิติกรณีมีเหตุการณ์ที่บริษัทถูกร้องเรียนหรือถูกฟ้องร้องว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน | 0 กรณี | 0 กรณี | 0 กรณี | 0 กรณี |
กระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Due Diligence)
พีทีจี มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ โดยยึดหลักการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีจริยธรรม เคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชน และให้ความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนในการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นตลอดห่วงโช่คุณค่าทางธุรกิจ บริษัทได้พัฒนากระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Dilgence) ขึ้น เพื่อจัดการกับความเสี่ยงจากประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน และส่งเสริมวัฒนธรรมการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนภายในองค์กร โดยกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัท มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
นโยบายสิทธิมมุนษยชน
พีทีจี ได้จัดทำนโยบายสิทธิมนุษยชน โดยยึดมั่นและปฏิบัติตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับกฎหมายแรงงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนได้นำแนวทางหลักการขององค์กรด้านสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (United Nations Universal Declaration of Human Rights : UDHR) ข้อตกลงประชาคมโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nation Global Compact : UNGC) รวมถึงหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNCP) มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของธุรกิจ ซึ่งได้ระบุแนวปฏิบัติสำหรับพนักงานในการส่งเสริมวัฒนธรรมการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนทั้งภายในและภายนอกองค์กร ครอบคลุมสิทธิพนักงาน สิทธิคู่ค้า สิทธิลูกค้า และสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยคาดหวังให้บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทร่วมค้า และคู่ค้าปฏิบัติตามนโยบายสิทธิมนุษยชนของบริษัท รวมถึงมีการสื่อสารอย่างชัดเจนไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ชุมชน คู่ค้า และพันธมิตรทางธุรกิจ โดยเน้นประเด็นสำคัญด้านสิทธิมนุษยชน เช่น การป้องกันการเลือกปฏิบัติ การคุกคามทางเพศ การใช้แรงงานเด็ก และการใช้แรงงานบังคับ เป็นต้น เพื่อให้มั่นใจว่าทุกภาคส่วนมีการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ดาวน์โหลดนโยบายสิทธิมนุษยชน
กระบวนการร้องเรียนเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน
พีทีจี เปิดโอกาสให้พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียสามารถแสดงความคิดเห็นสะท้อนปัญหา และแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียน หากมีเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกี่ยวข้องต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือจรรยาบรรณ ทั้งจากพนักงาน และผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านช่องทางรับเรื่องร้องเรียน whistleblower@pt.co.th, Call Center และ Mobile Application โดยมีการบริหารจัดการข้อร้องเรียนดังกล่าวอย่างเหมาะสมและให้ความเป็นธรรม โดยคุ้มครองบุคคลที่แจ้งเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัทโดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนหรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างสูงสุด
การอบรมด้านสิทธิมนุษยชน
พีทีจีได้กำหนดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการอบรมให้ความรู้แก่หัวหน้างานใหม่ เกี่ยวกับเรื่องกฎหมายแรงงาน การปฏิบัติตามหลักการแรงงานสัมพันธ์ที่ดี และหลักสิทธิมนุษยชนโดยตรง โดยเจ้าหน้าที่จากส่วนพนักงานสัมพันธ์และสื่อสารภายในที่มีความชำนาญในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้หัวหน้างานใหม่ทุกคนสามารถปฏิบัติงานและดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และเป็นธรรม ไม่ละเมิดสิทธิของลูกจ้าง และยังเป็นการทราบถึงสิทธิของตนเองในฐานะเป็นลูกจ้างขององค์กรด้วย โดยจะมีการจัดฝึกอบรมทั้งในรูปแบบของ Online Onsite และแบบ Hybrid โดยคำนึงถึงความเหมาะสม และความปลอดภัยของหัวหน้างานใหม่ทุกคน ซึ่งได้ทำการอบรมไปทั้งสิ้น 12 รุ่น มีหัวหน้างนใหม่ที่เข้ารับการอบรมดังกล่าวจำนวน 1,140 คน
กิจกรรม / หลักสูตรอบรม | จำนวนพนักงานเข้าร่วมกิจกรรม/อบรม | สัดส่วนของพนักงานทีเข้าอบรมเทียบกับจำนวนพนักงานทั้งหมด (%) |
กิจกรรม ER On tour | 1,040 | 5.78% |
หลักสูตรกฎหมายแรงงานเบื้องต้น และหลักการสิทธิมนุษยชนสำหรับหัวหน้างาน | 1,140 | 6.33% |
การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากล
พีทีจี มุ่งมั่นที่จะยกระดับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากล โดยได้ร่วมเป็นสมาชิกและมีบทบาทสำคัญในสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 ซึ่งทำหน้าที่ส่งเสริมมาตรฐานแรงงานและสุขภาวะในสถานประกอบการ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการร่วมกับกรมแรงงาน อีกทั้งยังเป็นภาคีเครือข่ายนักสร้างสุขภาวะองค์กรกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานและเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีในองค์กร นอกจากนี้ PTG ยังมีบทบาทในคณะกรรมการพัฒนาสตรีเพื่อยกระดับสถานะของผู้หญิงในองค์กร พร้อมเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการสถานประกอบการปลอดภัยยาเสพติดภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ซึ่งเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยจากยาเสพติด รวมถึงโครงการส่งเสริมสวัสดิการสำหรับแรงงานสูงอายุเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในระยะยาว
ในด้านความเป็นเลิศระดับนานาชาติ พีทีจี ยังได้รับรางวัล "HR Asia Best Companies to Work for in Asia 2024" และ "Diversity, Equity, Inclusion Awards" จาก HR Asia Awards ซึ่งเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน โดยรางวัลนี้ยืนยันถึงความมุ่งมั่นของ PTG ในการพัฒนาบุคลากรและสร้างสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย มีความเท่าเทียม และคำนึงถึงพนักงานทุกคน รางวัลที่ได้รับในครั้งนี้เป็นเครื่องยืนยันถึงความตั้งใจของบริษัทฯ ในการเป็นองค์กรที่ยอดเยี่ยม พร้อมสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีเยี่ยมให้กับพนักงาน PTG จึงภาคภูมิใจในความสำเร็จนี้ และจะเดินหน้าพัฒนาคุณภาพการทำงานและส่งเสริมสิทธิด้านแรงงานต่อไป