การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กลยุทธ์การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

       พีทีจี ตระหนักถึงความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการดำเนินธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับการยกระดับนโยบายของภาครัฐทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการปรับตัวของภาคเอกชนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้น บริษัทจึงจัดทำกลยุทธ์การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อกำหนดแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับองค์กร ผ่านการจัดเก็บและคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมทางธุรกิจ อีกทั้ง บริษัทยังกำหนดให้มีการประเมินความเสี่ยงและโอกาสจาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามแนวทางของ Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD) เพื่อจัดทำข้อมูลความเสี่ยงและโอกาส รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท และกำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบเพื่อพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยผนวกรวมกับการประเมินความเสี่ยงองค์กร และเพื่อบรรเทาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการดำเนินธุรกิจ
      บริษัทมีเจตนารมในการร่วมบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยกำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายตามแผนพลังงานชาติ ซึ่งสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถมุ่งสู่พลังงานสะอาด และลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2608  ซึ่งบริษัทมีความมุ่งมั่นในการร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านการดำเนินการจัดเก็บข้อมูลและคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมทางธุรกิจ ประเมินความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้ง การกำหนดเป้าหมายเพื่อมุ่งสู่องค์กรคาร์บอนต่ำ หรือเป้าหมาย Carbon neutrality ในปี 2030 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกขององค์กร โดยมีแนวทางดังนี้ 

  • การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวน การภายในองค์กร (Drive Internal Decarbonization)
  • การดูดซับและกักเก็บคาร์บอนด้วยวิธีทางธรรมชาติผ่านการปลูกป่า การฟื้นฟู และปกป้องระบบนิเวศชายฝั่ง (Forest Protection & Conservation Actions)
  • ลงทุนในธุรกิจพลังงานแห่งอนาคต ที่สามารถชดเชยคาร์บอน และมีโอกาสเติบโตในระยะยาว (Deploy investments in a carbon offset portfolio)

ดาวน์โหลดกลยุทธ์การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิกาศ


การกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  • พีทีจี กำหนดให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับองค์กร ซึ่งเป็นหนึ่งในการบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน เตรียมความพร้อมในการป้องกันและปรับตัวรับความเสี่ยง รวมถึงแสวงหาโอกาสในการดำเนินธุรกิจจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น บริษัทได้กำหนดให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร โดยประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ซึ่งทำหน้าที่ในการกำกับดูแลความเสี่ยงองค์กรโดยเฉพาะ และคณะทำงานบริหารความเสี่ยง ซึ่งรับผิดชอบในกระบวนการต่าง ๆ ของการบริหารความเสี่ยงองค์กร มีบทบาทหน้าที่เพิ่มเติมในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้มีประสิทธิภาพ โดยผนวกรวมกับการบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กร    


แนวทางการประเมินความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  • พีทีจี ประเมินความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามหลักการของ Task Force on Climate-Related Financial Disclosures (TCFD) โดยระบุความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการวิเคราะห์ผลกระทบตามสถานการณ์จำลอง (scenario) ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC) ตามสถานการณ์ทางกายภาพ RCP8.5  สํานักงานพลังงานสากล (International Energy Agency: IEA) ตามสถานการณ์เปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ETP 2DS  และกรีนพีซ (Greenpeace) ตามสถานการณ์เปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอน Greenpeace Advanced Energy [R]evolution เพื่อการบริหารผลกระทบทางธุรกิจจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และกำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบที่เหมาะสมต่อไป โดยสามารถศึกษาผลวิเคราะห์ความเสี่ยงได้ในรายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิกาศ



ดาวน์โหลดรายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก

ผลการดำเนินงานการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
ในปี 2566 บริษัทได้มีการนำข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของปี 2566 ในขอบเขตของบริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท พีทีจี โลจิสติกส์ จำกัด และ บริษัท ปิโตรเลียมไทยคอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ สำนักงานใหญ่ คลังน้ำมัน คลังกระจายสินค้า Fleet ขนส่ง และสถานีบริการน้ำมัน เพื่อขอการรับรองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) โดยได้รับการทวนสอบจากบริษัท เอ็นพีซี แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จำกัด และมีแผนการดำเนินงานในการขยายการขอรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกองค์กรไปในขอบเขตของบริษัทในกลุ่ม เพื่อให้ครอบคลุมทุกขอบเขตของการดำเนินธุรกิจ โดยมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนี้


ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2563 2564 2565 2566
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Scope 1) 1.398 1.582 55.771 50.718
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (Scope 2) 0.887 1.064 31.806 38.307
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ (Scope 3) 1,681.211 13,799.057 20,289.891 15,286.932
รวม 1,683.496 13,801.703 20,377.468 15,375.957

หน่วย: พันตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า  

หมายเหตุ:

1. ขอบเขตข้อมูลครอบคลุมบริษัทที่พีทีจี ถือหุ้นทางตรงมากกว่าร้อยละ 50 และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่หรือถือหุ้นทางอ้อมร้อยละ 100 โดยในปี 2566 ครอบคลุม บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) บริษัท พีทีจี โลจิสติกส์ จำกัด และ บริษัท ปิโตรเลียมไทยคอร์ปอเรชั่น จำกัด จำนวน 1,671 สถานี

2. ข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (Scope 3) ครอบคลุมการเผาไหม้ผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงที่ พีทีจี และบริษัท ปิโตรเลียมไทยคอร์ปอเรชั่น จำกัด จำหน่าย 

3. ขอบเขตข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (Scope 3) ครอบคลุม บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) บริษัท พีทีจี โลจิสติกส์ จำกัด และ บริษัท ปิโตรเลียมไทยคอร์ปอเรชั่น จำกัด

4. ข้อมูลในปี 2566 มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการเพิ่มขอบเขตองค์กร (Organization Boundary) จากบริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) ในพื้นที่คลังกระจายสินค้า

5. ข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขต 2 ปี 2561-2563 ของพีทีจี และกลุ่มพีทีจี เอ็นเนอยี มีการปรับการคำนวณตาม Emission Factor จาก EPPO 2021

ภาพรวมการดำเนินโครงการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

1.       การบริหารจัดการขนส่งเที่ยวเปล่า (Back haul)

การบริหารจัดการขนส่งเที่ยวเปล่า (Back haul) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพรถขนส่ง เพื่อไม่ให้บรรทุกถังเปล่า เมื่อจะต้องกลับมาต้นทางแล้วเป็นรถเปล่าก็สามารถเรียกใช้งานรถได้ โครงการนี้สามารถลดค่าใช้จ่ายและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการลดจำนวนเที่ยวของรถได้ ในปี 2566 การบริหารจัดการขนส่งเที่ยวเปล่า ( Backhaul ) สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และมีรายได้เพิ่มขึ้น 8,670,000 บาท


รายการ จำนวนเที่ยว และปริมาณน้ำมันที่ขนส่ง
2565 2566
จำนวนเที่ยววิ่ง 647 583
ปริมาณน้ำมัน B100 26,509,000 23,920,000

2.       โครงการโซลาร์รูฟท็อปสถานีบริการน้ำมัน

พีทีจี ดำเนินการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด ลดการใช้ไฟฟ้าในสถานีบริการ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 2 โดยในปี 2563 บริษัทได้มีการนำร่องติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปทั้งหมด 7 สถานี ปี 2565 บริษัทมีโครงการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเพิ่มเติม 22 สถานี รวมเป็น 29 สถานี และในปี 2566 ได้มีการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเพิ่มเติมอีก 10 สถานี รวมเป็น 39 สถานี โดยบริษัทมีเป้าหมายระยะยาวที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 6,105 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปีเทียบเท่าภายในปี 2570

 

3.       กลุ่มธุรกิจพลังงานทดแทน

พีทีจี พัฒนากลุ่มธุรกิจพลังงานทดแทน เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงเรื่องการขาดแคลนพลังงานจากปิโตรเลียมในอนาคต สนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกพืชผลเพื่อการผลิตพลังงานสะอาด เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อย และมันสำปะหลัง อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนนโยบายของภาครัฐ โดยบริษัทได้ลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนหลากหลายรูปแบบ อาทิ ธุรกิจพลังงานไบโอดีเซล ธุรกิจไบโอแก๊ส ธุรกิจโรงงานไฟฟ้าจากขยะ และธุรกิจรับจัดการบริหารขยะ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้มีรายได้ สร้างความตระหนักจากการเอาขยะชุมชนมาทำเป็นพลังงานสะอาดโดยบริหารจัดการให้ถูกวิธี ด้วยการคัดแยก แลกเปลี่ยนเป็น RDF ส่งต่อไปยังโรงปูนซีเมนต์ และดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมไม่ให้กระทบต่อสังคม

 

4.       สถานีชาร์จรถ EV ในสถานีบริการ

การเพิ่มสัดส่วนสถานีชาร์จรถ EV ในสถานีบริการ จากการร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยบริษัทได้ดำเนินการติดตั้งไปแล้ว จำนวน 49 สาขา ซึ่งมีการเก็บข้อมูลในทุกพื้นที่ของประเทศไทยว่าพื้นที่ใดควรขยายการติดตั้ง จากบทวิจัยทั่วโลก ซึ่งบริษัทมีเป้าหมายที่จะให้บริการในจุดที่จำเป็น ระยะทางทุก 150-200 กิโลเมตร

การบริหารจัดการมลพิษ

การบริหารจัดการมลพิษ

พีทีจี มีการบริหารจัดการคุณภาพอากาศ เพื่อสุขภาพที่ดีของพนักงาน และชุมชนรอบข้าง  โดยการทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศในพื้นที่ การซัก ล้างพรม หรือวัสดุที่มีการสะสมของฝุ่น ในส่วนของพื้นที่คลังน้ำมัน และสถานีบริการกำหนดให้มีการตรวจสอบการรั่วซึมของวาล์ว ท่อ ตู้จ่ายน้ำมัน และอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อลดไอระเหยน้ำมัน ที่ออกสู่ภายนอก และในส่วนของรถยนต์ และรถบรรทุกของบริษัท ก็มีการควบคุมการบำรุงรักษา และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง เพื่อให้เกิดควันจากท่อไอเสียที่เป็นมลพิษต่ออากาศน้อยที่สุด

เป้าหมายการจัดการมลพิษทางอากาศของบริษัทในระยะ 3-5 ปี

-          จำนวนข้อร้องเรียนด้านมลพิษทางอากาศที่มีนัยสำคัญเท่ากับศูนย์  

ผลการดำเนินงาน

พีทีจี ได้กําหนดให้มีกิจกรรมการตรวจวัดและวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้ง จัดทํารายงานผลการตรวจวัด เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงสถานีบริการ รวมถึงผลกระทบต่อสุขภาพพนักงานที่ปฏิบัติงานในสถานีบริการ ซึ่งบริษัทได้มีการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในสถานีบริการ โดยมีผลการตรวจสอบ ดังนี้
คุณภาพอากาศภายในสถานีบริการ
รายการ ค่ามาตรฐาน ผลการตรวจสอบเฉลี่ย
1. ฝุ่นทุกขนาดที่สามารถเข้าถึง และสะสมในถุงลมของปอดได้ 3 mg/m3 <1 mg/m3
2. เบนซิน 100 ppm <0.05 ppm


10076

10074

Loading...