การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม


นโยบายการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร

พีทีจี บริหารจัดการและควบคุมความปลอดภัย สภาพแวดล้อมในการทำงาน และบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้ “ระบบการจัดการ” ซึ่งผนวกและบูรณาการมาตรฐาน ISO 9001: 2015, ISO 14001: 2015 และ ISO 45001: 2018 รวมถึงกำหนดนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเป็นแนวปฏิบัติในสถานประกอบกิจการ อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการลดการใช้พลาสติก และส่งเสริมการใช้วัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และสนับสนุนระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน นอกจากนี้พีทีจีได้มีการควบคุมคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001:2015 และได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เพื่อรักษาคุณภาพ และให้ความเชื่อมั่นด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม และควบคุมกระบวนการขนส่งให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้ความร่วมมือกับกรมขนส่งทางบกในการติดตั้งกล่องควบคุมความเร็วของรถขนส่ง (Green Fleet) การใช้ปริมาณเชื้อเพลิง


พีทีจี ให้ความสำคัญกับการกำจัดขยะและของเสียอย่างถูกวิธี โดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยได้กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานในการจัดการขยะในสถานประกอบกิจการ และคาดหวังในการดำเนินการร่วมกับคู่ค้าให้ปฏิบัติตามกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ พีทีจีได้จัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) ก่อนการเริ่มดำเนินการจัดตั้งสถานปฏิบัติการที่เป็นไปตามกฎหมายกำหนดให้จัดทำ เพื่อประเมินความเสี่ยงและกำหนดมาตราการบรรเทาผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม และพีทีจีได้กำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด

 ดาวน์โหลดนโยบายการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร

นโยบายในการบริหารจัดการคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

พีทีจี เคร่งครัดต่อการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกําหนดที่ใช้ในการกํากับดูแล การควบคุมกระบวนการปฏิบัติงาน การปรับปรุงการให้บริการ และการเพิ่มผลผลิตให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทําให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความตระหนักในการปฏิบัติงานเพื่อจัดการความเสี่ยงและโอกาสที่จะเกิดขึ้น บริษัทจึงได้กําหนดนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (QSSHE) ให้สอดคล้องกับกฎหมาย ข้อกําหนด และมาตรฐานสากลต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

 ดาวน์โหลดนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม


นโยบายด้านบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน

พีทีจี กำหนดนโยบายด้านบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนเพื่อเป็นการแสดงเจตนารมในการบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินธุรกิจ ตามแนวคิดการลดการใช้ การนำกลับมาใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reduce Reuse and Recycle: 3Rs) โดยมุ่งเพิ่มสัดส่วนการใช้วัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle) ในบรรจุภัณฑ์ โดยไม่กระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ สนับสนุนให้มีการลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลาย (reduce) นำกลับมาใช้ซ้ำ (re-use) หรือผ่านกระบวนการเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (recycle) เช่น การรณรงค์นำแกลลอนน้ำมันกลับมาใช้ซ้ำ และการลดการใช้ถุงพลาสติก ส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกแบบบรรจุภัณฑ์และคัดสรรคู่ค้าที่จัดส่งวัสดุ หรือผลิตบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงร่วมปลูกฝังวัฒนธรรมการลดการใช้บรรจุภัณฑ์และการเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรผ่านการสร้างความตระหนักรู้ให้กับพนักงาน

 ดาวน์โหลดนโยบายด้านบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน


การบริหารจัดการพลังงาน

เนื่องจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานเชื้อเพลิง รวมถึงการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในสำนักงาน และเพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปตามมาตรฐานต่าง ๆ พีทีจี จึงมีการบันทึกข้อมูลปริมาณพลังงานที่ใช้ เช่น ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงของรถขนส่ง หรือการใช้ไฟฟ้าภายในสำนักงาน เป็นต้น เพื่อให้ได้รับทราบแนวโน้มของการใช้พลังงานในแต่ละปี รวมทั้งการณรงค์ลดการใช้พลังงานหรือเลือกใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมีโครงการสำคัญดังนี้

• โครงการรณรงค์ประหยัดค่าไฟฟ้าสํานักงานใหญ่
พีทีจี ดำเนินโครงการลดการใช้ไฟฟ้าภายในสำนักงานใหญ่อย่างต่อเนื่อง โดยสื่อสารให้พนักงานรับทราบถึงวิธีการประหยัดพลังงานและการใช้ไฟฟ้าที่ถูกต้องผ่านอีเมลและระบบอินทราเน็ตอย่างสม่ำเสมอในทุก ๆ วันศุกร์ และจัดกิจกรรมลุ้นรับรางวัล เพื่อให้พนักงานร่วมตอบคำถามการประหยัดพลังงานในสำนักงาน ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างความตระหนักอีกทางหนึ่ง สำหรับผลการดำเนินงานตามเป้าหมายในปี 2564 บริษัทสามารถลดปริมาณไฟฟ้าเฉลี่ยรายบุคคลภายในสำนักงานใหญ่ได้ 256 kWh/คนจากปีฐาน (2562) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 61.98


• โครงการลดการใช้ไฟฟ้าสํานักงานขนส่ง
พีทีจี รณรงค์เรื่องการลดใช้เครื่องปรับอากาศในสำนักงานขนส่ง โดยการลดเวลาการเปิดใช้เครื่องปรับอากาศ จากปกติจะเปิดใช้ในช่วงเวลา 08.00 น. – 17.00 น. เปลี่ยนเป็นเปิดใช้ในช่วงเวลา 08.00 น. – 16.00 น. ซึ่งสามารถลดเวลาการใช้ไฟจากเครื่องปรับอากาศได้ 1 ชั่วโมงต่อวัน


การบริหารจัดการน้ำ

พีทีจี มีการใช้น้ำประปาและน้ำบาดาลในการดำเนินธุรกิจ โดยบริษัทได้มีการบันทึกปริมาณการใช้น้ำในคลังน้ำมันและสถานีบริการ รวมทั้งตรวจวัดคุณภาพน้ำทิ้งตามคู่มือการควบคุมและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียที่บริษัทได้จัดทำขึ้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าค่าคุณภาพของน้ำทิ้งที่ออกจากทุก ๆ กิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทได้มาตรฐานตามที่กฏหมายกำหนด นอกจากนี้ บริษัทมีการจัดทำข่าวสารด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม (Safety News) เกี่ยวกับการทำความสะอาดบ่อดักไขมันในสถานีบริการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าบุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลระบบบำบัดน้ำเสียประเภทบ่อดักไขมันของสถานีบริการมีความรู้ในวิธีการทำความสะอาดบ่อดักไขมันเพื่อให้บ่อดักไขมันสามารถลดค่าความสกปรกของน้ำทิ้งจากสถานีบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

• มาตรการและแนวทางประหยัดน้ำ
พีทีจี มีการกำหนดมาตรการและแนวทางในการประหยัดน้ำ โดยมีการดำเนินการปรับอัตราการไหลของน้ำให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ซ่อมแซมอุปกรณ์ที่ชำรุดเพื่อไม่ให้เกิดการรั่วไหลของน้ำ ดำเนินการเปลี่ยนสุขภัณฑ์เพื่อการประหยัดน้ำที่สถานีบริการ บันทึกปริมาณน้ำรายวันเพื่อเป็นข้อมูลในการควบคุมการใช้น้ำ และมีการกำหนดตัวชี้วัดในการควบคุมค่าน้ำที่สถานีบริการ การดำเนินการต่าง ๆ ซึ่งบริษัทดำเนินการเพื่อเป็นแนวทางในการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และลดการสูญเสียน้ำไปโดยเปล่าประโยชน์

• การดำเนินงานเพื่อลดการใช้น้ำภายในสถานีบริการ

พีทีจี สนับสนุนการลดการใช้น้ำในสถานีบริการผ่านโครงการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำ เพื่อนําน้ำกลับมาใช้ใหม่ตามแนวคิด 3R (Reuse Reduce Recycle) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ผ่านโครงการ Kaizen โดยมีการผลิตเครื่องกรองน้ำที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการนําน้ำที่ใช้ในการล้างมือ มาผ่านตัวกรองน้ำเพื่อนํากลับมาใช้ใหม่ในการรดต้นไม้ที่สถานีบริการ โดยในปี 2564 บริษัทได้ขยายผลโครงการไปยังสถานีบริการวังน้อย 3 ซึ่งสามารถนําน้ำกลับมาใช้ใหม่ได้ประมาณ 3,564 ลูกบากศ์เมตรต่อปี หรือ 297 ลูกบากศ์เมตรต่อเดือน นอกจากนี้ ยังสามารถลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของสถานีบริการได้ประมาณ 8,910 บาทต่อเดือน หรือ 106,920 บาทต่อปี





การบริหารจัดการขยะ

พีทีจี ดำเนินการบริหารจัดการขยะและของเสียตามขั้นตอนปฏิบัติงาน เรื่องการกำจัดขยะและของเสีย ซึ่งเป็นแนวทางในการจัดการขยะและของเสียของในสถานที่ปฏิบัติงานจากกระบวนการต่าง ๆ หรือกิจกรรมที่เกิดขึ้น โดยระบุถึงการรวบรวม การจัดเก็บ และการกำจัดอย่างถูกวิธี เพื่อลดปัญหาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทมีการกำหนดเป้าหมายในการจัดการขยะไม่อันตรายและขยะอันตรายให้ลดลงร้อยละ 5 ภายในปี 2565 จากปีฐาน 2564 โดยมีขอบเขตการดำเนินงานที่คลังน้ำมัน

• ปริมาณขยะและของเสียปี 2564


• การดำเนินงานเพื่อลดปริมาณและการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี


การควบคุมปริมาณขยะอาหาร
บริษัท กาแฟพันธุ์ไทย จำกัด กำหนดให้ปริมาณขยะอาหารต้องไม่เกินร้อยละ 0.5 ของสินค้าประเภทอาหารที่วางจำหน่ายทั้งหมด โดยปัจจุบัน บริษัทสามารถควบคุมปริมาณขยะอาหารในร้านกาแฟเฉลี่ยที่ร้อยละ 0.25-0.35 ของสินค้าที่วางจำหน่ายทั้งหมด นอกจากนี้ สินค้าที่วางขายในร้านสะดวกซื้อแมกซ์ มาร์ท หากเวลาผ่านไปจะมีการนำมาลดราคาขาย เพื่อเป็นการกระตุ้นการขายสินค้าไม่ให้เกิดเป็นการสูญเสียอาหาร


การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กลยุทธ์การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

พีทีจี ตระหนักถึงความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อการดำเนินธุรกิจจากการยกระดับนโยบายของภาครัฐทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการปรับตัวของภาคเอกชนในการกำหนดเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ดังนั้น บริษัทจึงจัดทำกลยุทธ์การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับองค์กร ผ่านการจัดเก็บและคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมทางธุรกิจ อีกทั้ง บริษัทยังกำหนดให้มีการประเมินความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามแนวทางของ Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD) โดยผนวกรวมกับการประเมินความเสี่ยงองค์กร และเพื่อบรรเทาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการดำเนินธุรกิจ บริษัทกำหนดให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ โดยเลือกใช้เชื้อเพลิงในการขนส่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ของยานพาหนะ และเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ บริษัทยังส่งเสริมกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้แก่พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กร ผ่านการรณรงค์ปลูกต้นไม้ตามพื้นที่ชุมชน และการลดการใช้พลังงานในสำนักงาน เป็นต้น

 ดาวน์โหลดกลยุทธ์การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


การวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิกาศ

       - การกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
       พีทีจี กำหนดให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับองค์กร ซึ่งเป็นหนึ่งในการบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน เตรียมความพร้อมในการป้องกันและปรับตัวรับความเสี่ยง รวมถึงแสวงหาโอกาสในการดำเนินธุรกิจจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น บริษัทจึงกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร โดยประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ซึ่งทำหน้าที่ในการกำกับดูแลความเสี่ยงองค์กรโดยเฉพาะ และคณะทำงานบริหารความเสี่ยง ซึ่งรับผิดชอบในกระบวนการต่าง ๆ ของการบริหารความเสี่ยงองค์กร มีบทบาทหน้าที่เพิ่มเติมในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้มีประสิทธิภาพ โดยผนวกรวมกับการบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กร

       - แนวทางการประเมินความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
       พีทีจี ประเมินความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามหลักการของ Task Force on Climate-Related Financial Disclosures (TCFD) โดยระบุความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการวิเคราะห์ผลกระทบตามสถานการณ์จำลอง (scenario) ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC) ตามสถานการณ์ทางกายภาพ RCP8.5 สํานักงานพลังงานสากล (International Energy Agency: IEA) ตามสถานการณ์เปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ETP 2DS และกรีนพีซ (Greenpeace) ตามสถานการณ์เปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอน Greenpeace Advanced Energy [R]evolution เพื่อการบริหารผลกระทบทางธุรกิจจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และกำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบที่เหมาะสมต่อไป โดยสามารถศึกษาผลวิเคราะห์ความเสี่ยงได้ในรายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 ดาวน์โหลดรายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ในปี 2564 พีทีจี ได้มีการนำข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของปี 2563 ในขอบเขตสำนักงานใหญ่และคลังน้ำมัน ขอรับรองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) โดยได้รับการทวนสอบจากสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมีแผนการดำเนินงานในการขยายการขอรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกองค์กรไปในขอบเขต Fleet ขนส่งในปี 2565 และขยายขอบเขตไปยังสถานีบริการในปี 2566 เพื่อให้ครอบคลุมทุกขอบเขตของการดำเนินธุรกิจ โดยมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนี้

หน่วย: พันตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

หมายเหตุ: ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2563 ครอบคลุมขอบเขตสำนักงานใหญ่ และคลังน้ำมัน ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2564 ครอบคลุมขอบเขตสำนักงานใหญ่ คลังน้ำมัน และ Fleet ขนส่ง ข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ (Scope 3) ครอบคลุมการใช้น้ำประปา การใช้กระดาษ และการกำจัดของเสียของสำนักงานใหญ่ คลังน้ำมัน และขนส่ง รวมถึงการรับและจ่ายน้ำมันผ่านคลังน้ำมัน จากการคำนวณและจัดทำรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับองค์กร ประจำปี 2564 ซึ่งมีแผนจะได้รับรองข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) ภายในเดือนกรกฎาคม 2565 นั้น พบว่าบริษัทมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 9,948.30 พันตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2563 เป็นจำนวน 8,011.18 พันตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เนื่องจากบริษัทมีการรับและจ่ายน้ำมันผ่านคลังน้ำมันในปริมาณที่ค่อนข้างสูง ซึ่งคิดเป็นประมาณ 6 เท่าของการรับและจ่ายน้ำมันในปี 2563


การบริหารจัดการมลพิษ

พีทีจี ได้กําหนดให้มีกิจกรรมการตรวจวัดและวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้ง จัดทํารายงานผลการตรวจวัด เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงสถานีบริการ รวมถึงผลกระทบต่อสุขภาพพนักงานที่ปฏิบัติงานในสถานีบริการ ซึ่งบริษัทได้มีการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในสถานีบริการโดยการสุ่มตรวจสถานีที่มียอดขายสูงจากแต่ละภูมิภาค คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.1 โดยมีผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในสถานีบริการ ดังนี้

ทั้งนี้ บริษัทได้กำหนดมาตรการป้องกันและลดมลพิษทางอากาศ โดยการติดตั้งระบบควบคุมไอน้ำมัน (Vapor Recovery Unit: VRU) ที่คลังน้ำมัน สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง และรถขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง และมีการติดตั้งเครื่องวัดแก๊สที่คลังน้ำมัน เพื่อตรวจสอบการปล่อยไอระเหยของน้ำมัน


Loading...