- หน้าแรก >
- ความยั่งยืน >
- สังคม
สิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชน
การบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน
กระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Due Diligence)
พีทีจี มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ โดยยึดหลักการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีจริยธรรม เคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชน และให้ความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนในการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจ บริษัทได้พัฒนากระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) ขึ้นเพื่อจัดการกับความเสี่ยงจากประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน และส่งเสริมวัฒนธรรมการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนภายในองค์กร โดยกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัท มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ดาวน์โหลดกระบวนการระบุความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
นโยบายสิทธิมมุนษยชน
พีทีจี ได้จัดทำนโยบายสิทธิมนุษยชน โดยยึดมั่นและปฏิบัติตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับกฎหมายแรงงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนได้นำแนวทางหลักการขององค์กรด้านสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (United Nations Universal Declaration of Human Rights : UDHR) ข้อตกลงประชาคมโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nation Global Compact : UNGC) รวมถึงหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของธุรกิจ ซึ่งได้ระบุแนวปฏิบัติสำหรับพนักงานในการส่งเสริมวัฒนธรรมการเคารพต่อสิทธิ มนุษยชนทั้งภายในและภายนอกองค์กร ครอบคลุมสิทธิพนักงาน สิทธิคู่ค้า สิทธิลูกค้า และสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยคาดหวังให้บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทร่วมค้า และคู่ค้าปฏิบัติตามนโยบายสิทธิมนุษยชนของบริษัท
ดาวน์โหลดนโยบายสิทธิมนุษยชน
กระบวนการร้องเรียนเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน
พีทีจี เปิดโอกาสให้พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียสามารถแสดงความคิดเห็นสะท้อนปัญหา และแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียน หากมีเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกี่ยวข้องต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือจรรยาบรรณ ทั้งจากพนักงาน และผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านช่องทางรับเรื่องร้องเรียน whistleblower@pt.co.th ,Call Center และ Mobile Application โดยมีการบริหารจัดการข้อร้องเรียนดังกล่าวอย่างเหมาะสมและให้ความเป็นธรรม โดยคุ้มครองบุคคลที่แจ้งเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัทโดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนหรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างสูงสุด
การอบรมด้านสิทธิมนุษยชน
พีทีจี เน้นการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีการเคารพต่อสิทธิ ศักดิ์ศรี และความหลากหลายของความเป็นมนุษย์ ดังนั้น บริษัทจึงให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ในเรื่องสิทธิมนุนษยชนให้แก่พนักงาน ซึ่งครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ เช่น การปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน การป้องกันการใช้แรงงานเด็ก การต่อต้านการล่วงละเมิดและการไม่เลือกปฏิบัติในสถานประกอบกิจการ โดยในปี 2564 ส่วนแรงงานสัมพันธ์และสื่อสารภายใน (ER) ได้ดำเนินงานจัดอบรมหลักสูตรด้านสิทธิมนุษยชน ดังนี้
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
พีทีจี ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ โดยร้อยละ 100 ของกิจกรรมทางธุรกิจน้ำมันและ Non-oil ได้รับการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนภายใต้หลักการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความยั่งยืนขององค์กร บริษัทได้เปรียบเทียบเกณฑ์โอกาสเกิด (Likelihood) กับหลักเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงองค์กร และระดับผลกระทบ (Impact) กับหลักสากลของสหประชาชาติ (United Nation Guiding Principle on Business and Human Rights) และพิจารณาประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน รวมถึงบุคคลที่อาจได้รับผลกระทบ ครอบคลุม พนักงาน ชุมชนและสิ่งแวดล้อม คู่ค้าและผู้รับเหมา และลูกค้า ซึ่งประเด็นที่มีการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ได้แก่
กระบวนการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
พีทีจี ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน โดยการประเมินความเสี่ยง 2 ประเภท คือ 1) ความเสี่ยงตามลักษณะธรรมชาติ: ความเสี่ยงที่ปราศจากการควบคุมหรือมาตรการบรรเทาผลกระทบ 2) ความเสี่ยงที่หลงเหลืออยู่: ความเสี่ยงที่หลงเหลืออยู่ หลังการควบคุมหรือมาตรการบรระเทาผลกระทบ ในการจัดลำดับความเสี่ยงของประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน บริษัทอ้างอิงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่มีความเสี่ยงที่หลงเหลืออยู่ในระดับสูง-สูงมาก โดยบริษัทกำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบสำหรับทุกประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
บริษัทใช้เมตริกซ์ความเสี่ยง 5 ระดับ (ต่ำมาก-สูงมาก) เพื่อประเมินระดับความเสี่ยงของแต่ละประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน โดยเปรียบเทียบเกณฑ์โอกาสเกิด (แกน X) และระดับผลกระทบ (แกน Y)
ระดับความเสี่ยง |
โอกาสเกิด (ความถี่) |
ผลกระทบ |
||
ระดับผลกระทบ |
จำนวนผู้ได้รับผลกระทบ |
ความสามารถในการเยียวยา |
||
5 (สูงมาก) |
เกิดขึ้นมากกว่า 1 ครั้งต่อเดือน |
ผู้มีส่วนได้เสียเสียชีวิต |
มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในวงกว้าง หรือเกินขอบเขตของพื้นที่ปฏิบัติการ |
ไม่สามารถควบคุมหรือบรรเทาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ให้กลับสู่สภาวะปกติ และ/หรือใช้ระยะเวลาในการเยียวยามากกว่า 5 ปี |
4 (สูง) |
เกิดขึ้น 1 ครั้งต่อเดือน |
ผู้มีส่วนได้เสียทุพพลภาพ |
มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องมากกว่า 1 กลุ่มขึ้นไป(เช่น กระทบทั้ง ลูกค้าและพนักงาน เป็นต้น) |
ควบคุมหรือบรรเทาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนให้กลับสู่สภาวะปกติได้ในระยะเวลา 3-5 ปี |
3 (ปานกลาง) |
เกิดขึ้น 4-6 ครั้งต่อปี |
ผู้มีส่วนได้เสียได้รับบาดเจ็บสาหัสและ หยุดงานเกินกว่า 3 วัน |
มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียส่วนใหญ่ เพียง 1 กลุ่ม (เช่น ลูกค้า หรือคู่ค้า หรือชุมชน หรือ พนักงาน หลายราย) |
สามารถควบคุมหรือบรรเทาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนให้กลับสู่สภาวะปกติได้ในระยะเวลา 1-3 ปี |
2 (ต่ำ) |
เกิดขึ้น 2-3 ครั้งต่อปี |
ผู้มีส่วนได้เสียได้รับบาดเจ็บและต้องพบแพทย์ |
มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียบางส่วน เพียง 1 กลุ่ม (เช่น กระทบแค่ ลูกค้า หรือคู่ค้า หรือชุมชน หรือพนักงาน บางส่วนเท่านั้น) |
สามารถเยียวยาผู้มี่ส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องให้กลับสู่สภาวะปกติได้ในระยะเวลา มากกว่า 3 เดือน แต่น้อยกว่า 1 ปี |
1 (ต่ำมาก) |
เกิดขึ้น 1 ครั้งต่อปี |
ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ อนามัย และความปลอดภัยของพนักงาน หรือผู้มี่สวนได้เสีย (การปฐมพยาบาลเองเบื้องต้น) |
ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง |
สามารถควบคุมหรือบรรเทาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ให้กลับสู่สภาวะปกติได้ในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน |
ขอบเขตการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
ธุรกิจน้ำมันและ Non-oil |
|||||
ห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ |
จัดหา |
ขนส่ง |
จัดเก็บ |
การตลาด |
หน่วยงานสนับสนุน |
กิจกรรมทางธุรกิจ |
● น้ำมัน ● ก๊าซ LPG ● วัตถุดิบและอุปกรณ์สำหรับธุรกิจค้าปลีก |
● น้ำมัน ● วัตถุดิบและอุปกรณ์สำหรับธุรกิจค้าปลีก |
● น้ำมัน ● ก๊าซ LPG |
● สถานีบริการน้ำมันและก๊าซ LPG ● ร้านจำหน่ายก๊าซหุงต้ม ● ร้านสะดวกซื้อ ● ร้านกาแฟและเครื่องดื่ม ● ศูนย์บริการและซ่อมบำรุง |
● ฝ่ายทรัพยากรบุคคล |
บริษัท |
● บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด มหาชน ● บริษัท ปิโตรเลียมไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ● บริษัท พีทีจี โลจิสติก จำกัด ● บริษัท บีพีทีจี จำกัด ● บริษัท แอตลาส เอ็นเนอยี จำกัด ● บริษัท กาแฟพันธุ์ไทย จำกัด ● บริษัท จี เอฟ เอ คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์ ) จำกัด ● บริษัท สยาม ออโต้แบคส์ จำกัด ● บริษัท แมกซ์ การ์ด จำกัด ● บริษัท แมกซ์ โซลูชัน เซอร์วิส จำกัด |
ผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
ร้อยละของสถานที่ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนและมาตรการบรรเทาผลกระทบ
หมายเหตุ*: บริษัทมีมาตรการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนในทุกกระบวนการทางธุรกิจ
ผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนกลุ่มบริษัท พีทีจี
1. การเลือกปฏิบัติต่อคู่ค้า
2. การเลือกปฏิบัติต่อลูกค้า
3. การเลือกปฏิบัติต่อพนักงาน
4. สุขภาพและความปลอดภัยของชุมชน
5. สุขภาพและความปลอดภัยของลูกค้า
6. สุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน
7. มาตรฐานการครองชีพของชุมชน
8. การเข้าถึงน้ำและสุขาภิบาลของชุมชน
9. การได้มาซึ่งที่ดิน
10. ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้า
11. ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลพนักงาน
12. สภาพการจ้างงาน
13. เสรีภาพในการสมาคมและเจรจาต่อรอง
14. การจ้างแรงงานผิดกฎหมาย
ผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนคู่ค้า
มาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบสำหรับประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
ความหลากหลายและความเท่าเทียมของพนักงาน
การไม่เลือกปฏิบัติและการต่อต้านการล่วงละเมิด
พีทีจี ปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมตามกฎหมายแรงงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยมีฝ่ายบริหารทรัพยากรเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่าง ๆ ในเรื่องการจ้างงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน ค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน วันหยุด และความปลอดภัยในสถานปฏิบัติงาน เพื่อสร้างความ “อยู่ดี มีสุข” ให้แก่พนักงานทุกคน นอกจากนี้ บริษัทยังกำหนดให้มีการบังคับใช้นโยบายป้องกันการล่วงละเมิดและการไม่เลือกปฏิบัติในสถานประกอบกิจการเพื่อห้ามมิให้ ผู้บริหาร หัวหน้างาน หรือผู้ควบคุมกระทำการล่วงละเมิด (Harassment) ต่อลูกจ้างของกลุ่มบริษัท และมุ่งเน้นให้สถานประกอบกิจการเคารพต่อความหลากหลาย และปราศจากการเลือกปฏิบัติ (Discrimination) ในทุกกรณี
ดาวน์โหลดนโยบายป้องกันการล่วงละเมิดและการไม่เลือกปฏิบัติในสถานประกอบกิจการ
มาตรการแก้ปัญหาการล่วงละเมิดและการเลือกปฏิบัติในสถานประกอบกิจการ
พีทีจี กำหนดให้ขั้นตอนการแก้ปัญหาการล่วงละเมิดและการเลือกปฏิบัติในสถานประกอบกิจการต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่ระบุไว้ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท และการควบคุมกระบวนการให้เป็นไปตามระบบมาตรฐาน ISO 9001:2015 โดยกำหนดให้มีมาตราการที่ชัดเจนในการลงโทษผู้กระทำการล่วงละเมิดและเลือกปฏิบัติในรูปแบบดังต่อไปนี้
• การตักเตือนทางวาจา
• การตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร
• การพักงาน
• การให้พ้นจากสภาพการจ้างงาน
ความหลากหลายที่ พีทีจี
สัดส่วนพนักงานหญิง (%)
ตัวชี้วัดความหลากหลาย |
หน่วย |
ปี 2564 |
พนักงานหญิง |
คน |
10,592 |
% ของพนักงานทั้งหมด |
63 |
|
ผู้บริหารหญิงทั้งหมด |
คน |
56 |
% ของผู้บริหารทั้งหมด |
0.33 |
|
ผู้บริหารหญิงระดับสูง |
คน |
10 |
% ของผู้บริหารระดับสูงทั้งหมด |
0.06 |
|
ผู้บริหารหญิงระดับต้น |
คน |
29 |
% ของผู้บริหาระดับต้นทั้งหมด |
0.17 |
|
ผู้บริหารหญิงที่อยู่ในหน่วยงานที่สร้างรายได้ทั้งหมด |
คน |
7 |
% ของผู้บริหารที่อยู่ในหน่วยงานที่สร้างรายได้ทั้งหมด |
0.04 |
|
ผู้บริหารหญิงที่อยู่ในตำแหน่งที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ |
คน |
146 |
% ของตำแหน่งที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ |
0.87 |
สัดส่วนค่าตอบแทน
ระดับชั้น |
สัดส่วน (ค่าตอบแทนพนักงานหญิงโดยเฉลี่ย / ค่าตอบแทนพนักงานชายโดยเฉลี่ย) |
ผู้บริหารระดับสูง (เงินเดือน) |
0.87 |
ผู้บริหารระดับสูง (เงินเดือนและอื่น ๆ) |
0.85 |
ระดับผู้บริหาร (เงินเดือน) |
0.99 |
ระดับผู้บริหาร (เงินเดือนและอื่น ๆ) |
0.98 |
พนักงานที่ไม่อยู่ในระดับบริหาร |
0.95 |
ตัวชี้วัด |
ค่าเฉลี่ยส่วนต่างเงินเดือนระหว่างพนักงานหญิงและชาย |
ค่าเฉลี่ยส่วนต่างเงินเดือน |
4.61 |
ค่ามัธยฐานส่วนต่างเงินเดือน |
-5.90 |
ค่าเฉลี่ยส่วนต่างโบนัส |
21.80 |
ค่ามัธยฐานส่วนต่างโบนัส |
20.56 |
การมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม
การบริหารจัดการพนักงาน
การสรรหาและวางแผนอัตรากำลัง
- การวางแผนอัตรากำลัง
พีทีจี มีการวางแผนอัตรากำลังบุคลากรเป็นประจำทุกปี บริษัทมอบหมายให้หน่วยงาน HR Business Partner ทำงานร่วมกับผู้บริหารของทุกฝ่ายงานในการกำหนดอัตรากำลังเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางของธุรกิจ (Business Direction) โดยบริษัทมีการวิเคราะห์อัตรากำลังด้วยเทคนิคอัตราส่วนที่อิงตามผลประกอบการหรือยอดขาย (Productivity) ประกอบกับการวิเคราะห์โดยอาศัยความรู้ ประสบการณ์ และดุลยพินิจของผู้บริหาร (Management Judgement) นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์ภาระงาน (Workload Analysis) และแนวโน้มธุรกิจ เพื่อนำผลวิเคราะห์มาจัดทำแผนอัตรากำลังบุคลากรในทุก ๆ ปีงบประมาณ
- กลยุทธ์การสรรหา
การสรรหาพนักงานที่มีศักยภาพและประสบการณ์ในการทำงานเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ พีทีจี เพราะ พนักงาน คือ ปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้ประสบความสำเร็จและรองรับการเติบโตของธุรกิจในยุคชีวิตวิถีใหม่ หรือ New Normal บริษัทมีการกำหนดกลยุทธ์ในการสรรหาเพื่อให้ได้มาซึ่งบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและตรงต่อความต้องการของธุรกิจ ผ่านการเพิ่มช่องทางการสรรหาผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย และสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเพื่อผลิตทรัพยากรบุคคลตามความต้องการของธุรกิจ
ภาพรวมผลการดำเนินงานด้านการสรรหา
เป้าหมายการสรรหา ปี 2564 (ราย) | จำนวนพนักงานใหม่ ปี 2564 (ราย) |
19,331 | 13,330 |
การพัฒนาศักยภาพพนักงาน
พีทีจี ตระหนักถึงความสำคัญของบุคลากรต่อการดำเนินธุุรกิจและการพัฒนาองค์กรตามวิสัยทัศน์ ในการเชื่อมให้ทุกคนได้มีโอกาสเข้าถึงชีวิตที่ “อยู่ดี มีสุข” ในทุกด้านของช่วงชีวิต บริษัทจึงได้ส่งเสริมให้บุุคลากรมีความรู้ ความชำนาญ และความสามารถในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่่มขึ้้นอย่างต่อเนื่่อง โดยมอบหมายให้หน่วยงาน PTG Academy รับผิดชอบการพัฒนาทักษะพนักงาน และปรับปรุงหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการและการเปลี่ยนแปลงของการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน
การดูแลรักษาพนักงาน
- การประเมินผลปฏิบัติงานประจำปี
พีทีจี กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลปฏิบัติงานประจำปีซึ่งครอบคลุมผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดการปฏิบัติงานระดับองค์กร (Corporate Key Performance Indicator) ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานเป็นรายตําแหน่ง หรือรายบุคคล (Functional Key Performance Indicator) และตัวชี้วัดด้านพฤติกรรมตามค่านิยมองค์กร “Do Your BEST” รวมถึงจัดให้มีการประเมินผลปฏิบัติงานในรูปแบบ 360 องศา สำหรับผู้บริหาร
- การประเมินผลความผูกพันพนักงาน
พีทีจี ให้ความสำคัญกับการสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร เพื่อให้บริษัทเข้าใจความต้องการของพนักงานและสามารถนำมาต่อยอดเป็นโครงการและกิจกรรมในการเพิ่มความผูกพันของพนักงานได้อย่างต่อเนื่อง บริษัทกำหนดให้มีการประเมินผลความผูกพันและความพึงพอใจของพนักงานต่อองค์กรทุกปี โดยมอบหมายให้หน่วยงาน People & Organization Transformation เป็นผู้รับผิดชอบจัดทำการประเมินความผูกพันพนักงานประจำปี
การพัฒนาศักยภาพพนักงาน
นโยบายพัฒนาความรู้และศักยภาพของพนักงาน
พีทีจี ตระหนักถึงความสำคัญของบุคลากรต่อการดำเนินธุุรกิจและการพัฒนาองค์กรตามวิสัยทัศน์ ในการเชื่อมให้ทุกคนได้มีโอกาสเข้าถึงชีวิตที่ “อยู่ดี มีสุข” ในทุกด้านของช่วงชีวิต บริษัทจึงได้ส่งเสริมให้บุุคลากรมีความรู้ ความชำนาญ และความสามารถในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่่มขึ้้นอย่างต่อเนื่่อง โดยมอบหมายให้หน่วยงาน PTG Academy รับผิดชอบการพัฒนาทักษะพนักงาน และปรับปรุงหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการและการเปลี่ยนแปลงของการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน โดยมีกรอบนโยบาย ดังนี้
1. ฝึกอบรมโดยมีค่านิยมหลักขององค์กรเป็นพื้้นฐาน เพื่่อให้พนักงานมีความเข้าใจหลักการ แนวคิด และวัฒนธรรมการทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร
2. ฝึกอบรมความรู้พื้้นฐานที่่เกี่่ยวข้องกับการปฎิบัติงานให้กับพนักงานใหม่ทุกคน (On Boarding Program) เพื่่อให้พนักงานใหม่เกิดความเข้าใจ และสามารถปฎิบัติงานได้อย่างถููกต้อง ปลอดภัย เป็นไปตามมาตรฐานและกฎระเบียบของบริษัท
3. ฝึกอบรมเพื่่อพัฒนาความรู้เฉพาะด้าน เพื่อเพิ่่มทักษะการทำงานของพนักงานให้มีความชำนาญ เช่น หลักสูตรมาตรฐานการบริการ หลักสูตรเตรียมความพร้อมผู้จัดการสถานีบริการ เพื่่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฎิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
4. ฝึกอบรมพัฒนาด้านการบริหารคนงานเพื่่อพัฒนาทักษะและเตรียมความพร้อมการเป็นผู้นำ เช่น หลักสููตร Problem Solving Decision Making หลักสูตร Improving Leadership Skill เป็นต้น
5. ดำเนินกิจกรรมเชิงปฏิบัติที่่มุ่งเน้นในการบริหารจัดการ การทำงานเพื่่อเพิ่่มประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่่อง
6. ฝึกอบรมในรูปแบบ Self-learning ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ “Your Next YOU by SEAC” ซึ่่งเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) ที่พนักงานสามารถเลือกเรียนได้ตามแนวทางที่ถนัด โดยกำหนดรูปแบบและหลักสูตรการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง (Personalized Learning) เพื่อให้ทันต่อการเปลี่่ยนแปลง (Speed of Change) และสามารถพัฒนาทักษะใหม่ได้อย่างรวดเร็วในยุคการดำเนินชีวิตแบบปกติใหม่
พีทีจี บริหารจัดการการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตามความจำเป็นของตำแหน่ง โดยแยกการดำเนินงาน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหาร และกลุ่มบุคลากร โดยมีแนวทางการพัฒนาศักยภาพและทักษะ ดังนี้
1) กลุ่มผู้บริหาร (ระดับผู้จัดการส่วนขึ้นไป)
พีทีจี มุ่งบริหารจัดการการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารในรูปแบบผู้นําในอนาคตของ พีทีจี (Future Leader) เพื่อรองรับการเติบโตขององค์กร ผู้บริหารจะต้องได้รับการประเมิน 360 องศาจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์จุดเด่นและจุดด้อยเพื่อการพัฒนาเพิ่มเติม และผู้บริหารจะต้องจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan) ระบุประเด็นที่ต้องการพัฒนาอย่างน้อย 2 ประเด็น และหลักสูตรที่ต้องการศึกษาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาองค์กรต่อไป
2) กลุ่มบุคลากร (ระดับผู้จัดการแผนกหรือเทียบเท่าลงมา)
พีทีจี ส่งเสริมการบริหารและพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อรองรับการเติบโตทางธุรกิจน้ำมัน และการขยายธุรกิจ Non-oil ในอนาคต โดยรูปแบบการฝึกอบรมมีหลากหลายรูปแบบ เช่น การอบรมเชิงปฏิบัติการ การหมุนเวียนเปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบตามเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ (Career Path) เพื่อให้พนักงานสามารถพัฒนาทักษะ ความชํานาญจากประสบการณ์ในตําแหน่งหน้าที่ใหม่ เป็นต้น
การดำเนินงานเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร
ตัวชี้วัด | หน่วย | 2564 | |
ชาย | หญิง | ||
จำนวนชั่วโมงการอบรมพนักงานโดยเฉลี่ยต่อ FTE |
ชั่วโมง/คน/ปี |
8.29 |
|
9.55 |
7.56 |
||
- ระดับผู้จัดการขึ้นไป |
ชั่วโมง/คน/ปี |
146.70 |
173.09 |
- พนักงานระดับบริหาร |
ชั่วโมง/คน/ปี |
4.09 |
4.23 |
- พนักงานระดับปฏิบัติการ |
ชั่วโมง/คน/ปี |
6.15 |
8.9 |
ค่าใช้จ่ายการอบรมพนักงานโดยเฉลี่ยต่อ FTE |
บาท/คน/ปี |
558.44 |
|
696.66 |
478.39 |
||
- ระดับผู้จัดการขึ้นไป |
บาท/คน/ปี |
20,130.97 |
27,702.68 |
- พนักงานระดับบริหาร |
บาท/คน/ปี |
574.22 |
576.86 |
- พนักงานระดับปฏิบัติการ |
บาท/คน/ปี |
576.60 |
643.12 |
ค่าใช้จ่ายสำหรับการอบรมพนักงานทั้งหมด |
บาท | 9,293,873.65 |
หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพพนักงาน
หลักสูตร |
ผลประโยชน์ต่อธุรกิจ |
ผลประโยชน์ต่อธุรกิจ เชิงปริมาณ |
สัดส่วนพนักงานที่ได้รับการอบรมต่อพนักงานทั้งหมด (FTE) |
การอบรมหลักสูตรไคเซ็น (KAIZEN) - จัดให้มีการอบรมหลักหลักสูตรพื้นฐานและหลักสูตรขั้นสูงของ โดยเปิดโอกาสให้พนักงานจากทุกหน่วยงานนำส่งผลงานนวัตกรรมไคเซ็นเพื่อประดิษฐ์หรือปรับปรุงกระบวนการ ระบบ หรือการบริการ เพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และรวดเร็วยิ่งขึ้น |
- เกิดนวัตกรรมส่งเสริมการบริการ และกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้บริษัทสามารถลดต้นทุน และค่าใช้ต่าง ๆ ได้เพิ่มมากขึ้น |
- สามารถลดต้นทุนของบริษัทได้ทั้งสิ้น 16.10 ล้านบาท |
4.64 |
การอบรมหลักสูตร Productivities initiative - เพิ่มทักษะของพนักงานและยกระดับการปรับปรุงผ่านเครื่องมือต่าง ๆ รวมทั้งการลงมือปฏิบัติจริง โดยมีผู้บริหารและฝ่าย Process Transformation ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำและเทคนิคต่าง ๆ มีการติดตามความคืบหน้า ตรวจสอบ และรายงานผลเป็นระยะเพื่อให้พนักงานมีการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างดำเนินโครงการ |
- สามารถนำไปประยุกต์ใช้และพัฒนานวัตกรรมที่สามารถนำกลับมาใช้ในการลดต้นทุน แก้ปัญหา สร้างคุณค่า และเพิ่มมูลค่าให้แก่องค์กรได้ในอนาคต |
- สามารถสร้างรายได้ให้บริษัท 12.48 ล้านบาท และสามารถลดต้นทุนของบริษัท 29.93 ล้านบาท นอกจากนี้ยังประหยัดค่าใช้จ่ายของบริษัท ได้ทั้งสิ้น 12.17 ล้านบาท |
1.19 |
ผลตอบแทนจากทุนมนุษย์
ตัวชี้วัด |
2561 | 2562 | 2563 | 2564 |
รายได้ทั้งหมด (ล้านบาท) |
108,142.00 |
120,251.82 |
104,668.09 |
133,759.82 |
ค่าบริหารจัดการ (ล้านบาท) |
100,386.06 |
110,126.54 |
93,823.90 |
123,626.89 |
ค่าใช้จ่ายด้านทรัพยากรบุคคล (ล้านบาท) |
652.51 |
606.22 |
3,092.74 |
3,542.47 |
สัดส่วนผลตอบแทนจากทุนมนุษย์ (HC ROI) |
166.73 |
199.36 |
34.84 |
1.00 |
การดูแลรักษาพนักงาน
ผลตอบแทนและสวัสดิการ
พีทีจี ให้ความสำคัญต่อการกำหนดค่าตอบแทนและสวัสดิการของพนักงาน โดยคำนึงถึงความเหมาะสม เป็นธรรม เพื่อให้พนักงานและครอบครัว อยู่ดี มีสุข ซึ่งองค์ประกอบค่าตอบแทนและสวัสดิการของบริษัท ได้แก่
• เงินเดือน: บริษัทกำหนดอัตราเงินเดือนของพนักงานให้สอดคล้องกับค่างานตามตำแหน่งงาน ค่าครองชีพ ค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย และพิจารณาให้อยู่ในระดับเทียบเคียงได้กับธุรกิจชั้นนำประเภทเดียวกันในประเทศไทย และสภาวะการแข่งขันของธุรกิจในปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
• สวัสดิการและค่าตอบแทนจูงใจระยะสั้น: บริษัทมอบสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ให้แก่พนักงานทุกระดับชั้น ได้แก่ โบนัสประจำปี เงินรางวัลตามยอดขาย สวัสดิการส่วนลดในการซื้อสินค้าและบริการของกลุ่มบริษัท แผนประกันชีวิตและสุขภาพของพนักงาน การตรวจสุขภาพประจำปี สวัสดิการช่วยเหลือยามเกิดอุบัติเหตุ เหตุฉุกเฉินหรือประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อพนักงาน และการให้สิทธิ์พนักงานในการซื้อแผนประกันชีวิตให้แก่สมาชิกครอบครัวในราคาสวัสดิการ เพื่อเสริมสร้างชีวิตความเป็นอยู่ และสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ นอกจากนี้บริษัทยังให้สิทธิในการลาคลอดบุตรแก่พนักงานหญิงที่ตั้งครรภ์ดังต่อไปนี้
1. พนักงานหญิงมีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตร ครรภ์หนึ่งติดต่อกันไม่เกิน 98 วัน รวมวันหยุดโดยได้รับค่าจ้าง เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานปกติ ตลอดระยะเวลาที่ลาแต่ไม่เกิน 45 วัน และจะได้รับค่าจ้างตามสิทธิจากประกันสังคมอีก 45 วัน
2. กรณีที่มีใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งมาแสดงว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมต่อไปได้ บริษัทจะพิจารณาเปลี่ยนหน้าที่งานให้แก่พนักงานนั้นเป็นการชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอด ตามที่บริษัทเห็นสมควรเป็นกรณีๆ ไป
3. การลาเพื่อคลอดบุตร ต้องยื่นใบลาโดยตรงต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้า กรณีที่พนักงานไม่สามารถจะลาล่วงหน้าได้ ให้สมาชิกในครอบครัวแจ้งการลาคลอดแทนภายใน 3 วัน นับจากวันที่เริ่มหยุดเพื่อการคลอดบุตร
4. การลหยุดเนื่องจากการแท้งบุตรขณะอายุครรภ์ยังไม่ครบ 28 สัปดาห์ ให้ถือว่าเป็นการลาป่วย
และให้สิทธิลาโดยไม่ขอรับค่าจ้าง ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1). พนักงานประจำที่มีอายุงานเกิน 1 ปีมีสิทธิลาหยุดงานโดยไม่ขอรับคำจางได้ไม่เกินปิละ 3 วัน โดยรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลา
(2). พนักงานจะต้องยื่นใบลาต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน และเมื่อได้รับอนุมัติจากกรรมการผู้จัดการหรือผู้ซึ่งกรรมการผู้จัดการมอบหมายเรียบร้อยแล้ว พนักงานจึงจะลางานได้
• ค่าตอบแทนจูงใจระยะยาว: บริษัทจัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับพนักงาน เพื่อให้เป็นเงินออมหลังเกษียณ ซึ่งให้พนักงานได้สะสมเงินออมได้ตั้งแต่ร้อยละ 3-15 ต่อเดือน และกำหนดให้พนักงานสามารถซื้อหลักทรัพย์ของกลุ่มบริษัทได้ในราคา ณ วันที่บริษัทมีการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (Initial Public Offering: IPO) โดยไม่มีเงื่อนไขการถือครอง เพื่อให้พนักงานมีส่วนร่วมและมีสิทธิในฐานะเจ้าของกิจการคนหนึ่ง ซึ่งเป็นการสร้างความผูกพันต่อองค์กร และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทที่พร้อมจะสร้างความเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน
ดาวน์โหลดนโยบายค่าตอบแทนและสวัสดิการ
การประเมินผลความผูกพันพนักงาน
พีทีจี จัดทำแบบสำรวจเพื่อประเมินความผูกพันพนักงานเป็นประจำทุกปี และได้นำผลการประเมินความผูกพันพนักงานมาวิเคราะห์ โดยพบว่าปัจจัยที่ควรมุ่งเน้นเพื่อเพิ่มความผูกพันพนักงานได้แก่ การยกย่องชมเชย (นอกเหนือจากรางวัลและค่าตอบแทน) และการจัดการบุคลากร โดยบริษัท ได้จัดให้ทุกส่วนงานมีส่วนร่วมในการจัดทำข้อเสนอแนะให้แก่องค์กรในการพัฒนาปัจจัยที่ควรมุ่งเน้นเพื่อเพิ่มความผูกพันพนักงาน อีกทั้ง ยังจัดให้มีกิจกรรม CEO Townhall เพื่อให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่มีช่องทางในการสื่อสารเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินธุรกิจประจำปี ค่านิยมองค์กร และข้อคิดในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับพนักงาน นอกจากนี้ บริษัทได้จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งในด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ สุขภาวะทางสังคม และสุขภาพทางการเงิน ให้แก่พนักงานในองค์กร เพื่อให้เกิดความ อยู่ดี มีสุข อย่างแท้จริง
สถิติผลสำรวจความผูกพันพนักงาน
ผลการดำเนินงานเพื่อเพิ่มความผูกพันพนักงาน
การบริหารทรัพยากรบุคคล
ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมองค์กร
พีทีจี ผนวกระบบมาตรฐานแบบบูรณาการ (Integrated Management System) ทั้ง 3 ระบบเข้าด้วยกัน ซึ่งเรียกว่า “ระบบการจัดการ” ตามมาตรฐาน ISO 9001: 2015 Quality Management Systems (มอก. 9001-2559), ISO 14001: 2015: Environmental Management Systems (มอก.14001-2559) และ ISO 45001: 2018 Occupational Health and Safety Management Systems (มอก. 45001-2561) อีกทั้ง บริษัทยังกำหนดนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม (Quality, Security, Occupational Health and Safety, Environmental Policy: QSSHE) เพื่อดูแลควบคุมกระบวนการปฏิบัติงานตลอดห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ ครอบคลุมการปรับปรุงการให้บริการและการเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement) ให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) รวมถึงจัดการความเสี่ยงและโอกาสด้าน QSSHE ขององค์กร โดยนโยบายฯ และระบบจัดการของบริษัทใช้ป้องกันผลกระทบและควบคุมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยครอบคลุมพนักงาน คู่ค้า และผู้รับเหมาทุกคนที่ร่วมปฏิบัติงานกับบริษัทในทุก ๆ สถานปฏิบัติการของบริษัท
โครงสร้างการบริหารงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมองค์กร
พีทีจี ได้มีการดำเนินการบริหารจัดการทางด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลทางด้านนโยบายความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม โดยมีประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นประธาน และมีกรรมการผู้จัดการ บริษัทในกลุ่มเป็นสมาชิกเพื่อกำหนดทิศทางการบริหารจัดการด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มบริษัทฯ
พีทีจี ส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมของพนักงานทุกระดับผ่านคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) โดยบริษัทจัดตั้งคณะกรรมการฯ ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีบทบาทและหน้าที่ครอบคลุมการพิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยนอกงาน พร้อมทั้งเสนอแนะมาตรการ หรือแนวทางการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อลดการเจ็บป่วยและการสูญเสียของพนักงาน และผู้รับเหมา โดยมีการจัดทำระบบการบริหารจัดการความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มบริษัทฯ และได้มีการนำเป้าหมายด้านการเจ็บป่วยของพนักงานจนถึงขั้นเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลขึ้นไปมาตั้งเป็น Key Performance Indicators (KPI) ของพนักงานและผู้บริหารในหน่วยงานที่ดูแลบริหารงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมองค์กร และมีการประชุมรายงานสรุปผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมภายในหน่วยงานเป็นประจำทุกเดือน นอกจากนี้ยังมีการจัดประชุมทบทวนฝ่ายจัดการ ปีละ 2 ครั้ง ตามข้อกำหนดของ ISO 9001 ISO14001 ISO45001 โดยมีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) และผู้บริหารเข้าร่วมประชุมด้วย และในทุก ๆ ไตรมาส ก็ได้มีการติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินงานโดยคณะกรรมการกำกับดูแลทางด้านนโยบายความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมและฝ่ายบริหารความเสี่ยงองค์กรเพื่อรายงานไปยังคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการบริษัทต่อไป
การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม
- การระบุอันตราย (Hazard identification)
พีทีจี ได้จัดทำกระบวนการเพื่อระบุอันตรายที่มีในระบบการจัดการ โดยกระบวนการนี้บริษัทได้พิจารณาถึง วิธีการปฏิบัติงาน ปัจจัยทางสังคม การได้รับผลกระทบเชิงลบจากการร่วมเป็นที่ปรึกษา ภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์กร กิจกรรมและสถานการณ์แบบประจำหรือไม่ประจำ รวมถึงอันตรายที่เกิดจากโครงสร้างพื้นฐาน วัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น โดยฝ่ายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมได้นำผลการบ่งชี้อันตรายมาปรับใช้ และปรับปรุงการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยที่รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่หรือกลุ่มธุรกิจ และผู้เกี่ยวข้องร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการควบคุมความเสี่ยง สำหรับระดับความเสี่ยงปานกลางขึ้นไป และแผนปฏิบัติการลดความเสี่ยง สำหรับความเสี่ยงสูงขึ้นไป เช่น การปรับปรุงระบบดับเพลิงคลังน้ำมัน การปรับปรุงพื้นที่จัดเก็บขยะอันตราย การกำหนดการตรวจสอบความปลอดภัยในสถานีบริการน้ำมันและแก๊ส LPG ร้านสะดวกซื้อ Max Mart และร้านกาแฟพันธุ์ไทย ในรูปแบบออนไลน์ เป็นต้น
- การรายงานเกี่ยวกับอันตรายและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
พีทีจี กำหนดให้พนักงานที่พบเห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์อันตรายติดต่อหรือแจ้งไปยังหัวหน้างานให้รับทราบทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น โดยหัวหน้างานต้องทำการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยที่รับผิดชอบในพื้นที่นั้นให้รับทราบผ่านช่องทางโทรศัพท์ e-mail หรือช่องทางอื่น ๆ ที่สามารถติดต่อได้ เมื่อได้รับแจ้งข้อมูล เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยจะนัดประชุมร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการสอบสวนร่วมกัน เพื่อบ่งชี้สาเหตุของอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งหาแนวทางการแก้ไขและป้องกัน นอกจากนี้ บริษัทยังกำหนดนโยบายหยุดการทำงาน (Stop Work Policy) เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน โดยสนับสนุนให้พนักงานทุกระดับและผู้รับเหมาหยุดการปฏิบัติงานทันที เมื่อพบว่ามีสภาพการทำงานและการกระทำที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม
การดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมองค์กร
- การตรวจสอบและอบรมด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในสถานีบริการ
- การจัดทำและสื่อสารข้อกําหนดด้านความปลอดภัยในการคัดเลือกผู้รับเหมา และการปฏิบัติงาน
- การป้องกันผลกระทบและอันตรายจากการดำเนินธุรกิจต่อชุมชนผ่านการจัดทำประชาพิจารณ์ และการควบคุมการก่อสร้างเพื่อสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยระหว่างการจัดตั้งสถานีบริการ
สถิติด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการดำเนินงานเพื่อบรรเทาผลกระทบ
ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมการทำงาน
กลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคม
พีทีจี ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมตามมาตรฐานแนวทาง ความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 โดยยึดหลักการประกอบกิจการด้วยความเป็นธรรม การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น การเคารพสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม
ทั้งนี้ เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมระดับองค์กร บริษัทจึงได้จัดทำกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมกับชุมชน สังคม รวมถึงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตามแนวคิดการสร้างการยอมรับต่อการดำเนินงานของกิจการ (License to operate) และสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อรักษาสมดุลในการดำเนินธุรกิจ ตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย และป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้มีการดำเนินตามกลยุทธ์ ดังต่อไปนี้
1. สร้างความผูกพันกับชุมชนโดยรอบสถานปฏิบัติการผ่านการดำเนินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมที่เน้นการสร้างคุณค่าร่วมเพื่อความ อยู่ดี มีสุข
2. สร้างเครือข่ายและความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการพัฒนาชุมชน สังคม และร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
3. ส่งเสริมโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมบนพื้นฐานของ 3 องค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การส่งเสริมสังคมผู้สูงอายุ และการสร้างวิถีชีวิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
4. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ เช่น ชุมชน หน่วยราชการ ลูกค้า คู่ค้า พนักงาน
ดาวน์โหลดกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคม
สัดส่วนการลงทุนทางสังคม
พีทีจี ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นในการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
การบริจาคเพื่อการกุศล
ประเภทการบริจาค |
มูลค่า (บาท) |
ปี 2564 | |
การบริจาคเงินสด |
112,136,962 |
ค่าใช้จ่ายสำหรับพนักงานจิตอาสาในช่วงเวลาทำงาน |
78,526 |
การบริจาคสิ่งของและการบริการ |
28,655,745 |
ค่าใช้จ่ายสำหรับการบริหารจัดการ |
937,824 |
การสำรวจความพึงพอใจของชุมชน
ในปี 2564 พีทีจี ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของชุมชนเพื่อประเมินการดำเนินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ซึ่งทำได้เกินเป้าหมายที่คาดไว้ โดยอัตราความพึงพอใจนี้ถูกใช้เป็นตัวชี้วัดอย่างหนึ่งที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างบริษัทกับชุมชนและการยอมรับต่อการดำเนินงานของกิจการ
ปี | อัตราความพึงพอใจของชุมชน |
|
ผลสำรวจ |
เป้าหมาย | |
2563 |
96.58% |
80% |
2564 |
91.06% |
90% |
โครงการความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน
พีทีจี ได้กำหนดกรอบการดำเนินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมระดับองค์กร ภายใต้แนวคิด “พีที ทำจริง ไม่ทิ้งกัน” ซึ่งประกอบด้วย 3 เป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การส่งเสริมสังคมผู้สูงอายุ และการสร้างวิถีชีวิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยมีรายละเอียดดังนี้
ประเด็น |
คุณภาพชีวิต |
สังคมผู้สูงอายุ |
สิ่งแวดล้อม |
ความเชื่อมโยงกับ SDGs |
4.2 8.3 |
3.8 |
15.2 |
วัตถุประสงค์ |
สนับสนุนด้านการศึกษาและโอกาสในการพัฒนาความรู้ และรายได้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน |
ส่งเสริมสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดีและสนับสนุนอาชีพผู้สูงอายุเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมสูงวัย |
สร้างวิถีชีวิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และพัฒนาพื้นที่สีเขียวเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ และรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ |
ความเชื่อมโยงกับ กลยุทธ์ทางธุรกิจ |
พีทีจี เน้นการสร้างโอกาส และความรู้ให้แก่ชุมชน โดยมุ่งเป็นศูนย์กลางที่แบ่งปัน รักษา และพัฒนาทักษะความชำนาญ ประสบการณ์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ บริการ ของบริษัทและชุมชน |
พีทีจี มุ่งเป็นจุดหมายปลายทางแห่งใหม่ในการเข้าถึงนวัตกรรมด้านสุขภาพและสุขภาวะ(Wellness & Wellbeing) ทั้งในด้านการรักษาและป้องกัน เพื่อเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่สังคมไทย |
พีทีจี มุ่งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่คุณค่า และส่งเสริมการสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ |
โครงการ / กิจกรรมหลัก |
- การสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่เยาวชน - การริเริ่มโครงการการสร้างคุณค่าร่วมเพื่อพัฒนารายได้ชุมชนและท้องถิ่น |
- กิจกรรมตรวจสุขภาพ และกิจกรรม “ชุมชนตาสว่าง” ภายใต้โครงการค่ายอาสา พีที ทำจริง ไม่ทิ้งกัน - การจ้างงานผู้สูงอายุในสถานประกอบกิจการ |
- กิจกรรมปลูกป่าสร้างปอด ภายใต้โครงการค่ายอาสา พีที ทำจริง ไม่ทิ้งกัน |
ตัวชี้วัดทางธุรกิจ |
- จำนวนพนักงานเข้าร่วมกิจกรรม - ผลประเมินความพึงพอใจของชุมชน - จำนวนข้อร้องเรียนที่มีนัยสำคัญจากชุมชน - รายได้ที่เพิ่มขึ้นของบริษัท |
- จำนวนพนักงานเข้าร่วมกิจกรรม - ผลประเมินความพึงพอใจของชุมชน - จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการจ้างงาน - จำนวนข้อร้องเรียนที่มีนัยสำคัญจากชุมชน |
- จำนวนพนักงานเข้าร่วมกิจกรรม - ผลประเมินความพึงพอใจของชุมชน - จำนวนข้อร้องเรียนที่มีนัยสำคัญจากชุมชน |
ตัวชี้วัดด้านสังคม / สิ่งแวดล้อม |
- จำนวนเยาวชนที่ได้รับทุนการศึกษา - รายได้ชุมชนที่เพิ่มขึ้น |
- จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับบริการสุขภาพ - จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับแว่นสายตา - มูลค่าการจ้างงานผู้สูงอายุ - ผลลัพธ์ทางสังคมจากการลงทุน |
- จำนวนต้นไม้ที่ได้รับการปลูกในพื้นที่ชุมชน - จำนวนก๊าซเรือนกระจกที่สามารถลดได้ |
ผลการดำเนินงานตามกรอบการดำเนินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคม
ในปี 2564 พีทีจี ได้ประเมินและติดตามความคืบหน้าของแต่ละกิจกรรมหลักตาม 3 เป้าหมาย ซึ่งสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ตามด้านล่าง
ดาวน์โหลดผลการดำเนินงานตามกรอบการดำเนินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมปี 2564
สิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชน
การบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน
กระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Due Diligence)
พีทีจี มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ โดยยึดหลักการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีจริยธรรม เคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชน และให้ความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนในการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจ บริษัทได้พัฒนากระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) ขึ้นเพื่อจัดการกับความเสี่ยงจากประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน และส่งเสริมวัฒนธรรมการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนภายในองค์กร โดยกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัท มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ดาวน์โหลดกระบวนการระบุความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
นโยบายสิทธิมมุนษยชน
พีทีจี ได้จัดทำนโยบายสิทธิมนุษยชน โดยยึดมั่นและปฏิบัติตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับกฎหมายแรงงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนได้นำแนวทางหลักการขององค์กรด้านสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (United Nations Universal Declaration of Human Rights : UDHR) ข้อตกลงประชาคมโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nation Global Compact : UNGC) รวมถึงหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของธุรกิจ ซึ่งได้ระบุแนวปฏิบัติสำหรับพนักงานในการส่งเสริมวัฒนธรรมการเคารพต่อสิทธิ มนุษยชนทั้งภายในและภายนอกองค์กร ครอบคลุมสิทธิพนักงาน สิทธิคู่ค้า สิทธิลูกค้า และสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยคาดหวังให้บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทร่วมค้า และคู่ค้าปฏิบัติตามนโยบายสิทธิมนุษยชนของบริษัท
ดาวน์โหลดนโยบายสิทธิมนุษยชน
กระบวนการร้องเรียนเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน
พีทีจี เปิดโอกาสให้พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียสามารถแสดงความคิดเห็นสะท้อนปัญหา และแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียน หากมีเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกี่ยวข้องต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือจรรยาบรรณ ทั้งจากพนักงาน และผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านช่องทางรับเรื่องร้องเรียน whistleblower@pt.co.th ,Call Center และ Mobile Application โดยมีการบริหารจัดการข้อร้องเรียนดังกล่าวอย่างเหมาะสมและให้ความเป็นธรรม โดยคุ้มครองบุคคลที่แจ้งเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัทโดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนหรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างสูงสุด
การอบรมด้านสิทธิมนุษยชน
พีทีจี เน้นการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีการเคารพต่อสิทธิ ศักดิ์ศรี และความหลากหลายของความเป็นมนุษย์ ดังนั้น บริษัทจึงให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ในเรื่องสิทธิมนุนษยชนให้แก่พนักงาน ซึ่งครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ เช่น การปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน การป้องกันการใช้แรงงานเด็ก การต่อต้านการล่วงละเมิดและการไม่เลือกปฏิบัติในสถานประกอบกิจการ โดยในปี 2564 ส่วนแรงงานสัมพันธ์และสื่อสารภายใน (ER) ได้ดำเนินงานจัดอบรมหลักสูตรด้านสิทธิมนุษยชน ดังนี้
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
พีทีจี ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ โดยร้อยละ 100 ของกิจกรรมทางธุรกิจน้ำมันและ Non-oil ได้รับการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนภายใต้หลักการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความยั่งยืนขององค์กร บริษัทได้เปรียบเทียบเกณฑ์โอกาสเกิด (Likelihood) กับหลักเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงองค์กร และระดับผลกระทบ (Impact) กับหลักสากลของสหประชาชาติ (United Nation Guiding Principle on Business and Human Rights) และพิจารณาประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน รวมถึงบุคคลที่อาจได้รับผลกระทบ ครอบคลุม พนักงาน ชุมชนและสิ่งแวดล้อม คู่ค้าและผู้รับเหมา และลูกค้า ซึ่งประเด็นที่มีการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ได้แก่
กระบวนการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
พีทีจี ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน โดยการประเมินความเสี่ยง 2 ประเภท คือ 1) ความเสี่ยงตามลักษณะธรรมชาติ: ความเสี่ยงที่ปราศจากการควบคุมหรือมาตรการบรรเทาผลกระทบ 2) ความเสี่ยงที่หลงเหลืออยู่: ความเสี่ยงที่หลงเหลืออยู่ หลังการควบคุมหรือมาตรการบรระเทาผลกระทบ ในการจัดลำดับความเสี่ยงของประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน บริษัทอ้างอิงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่มีความเสี่ยงที่หลงเหลืออยู่ในระดับสูง-สูงมาก โดยบริษัทกำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบสำหรับทุกประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
บริษัทใช้เมตริกซ์ความเสี่ยง 5 ระดับ (ต่ำมาก-สูงมาก) เพื่อประเมินระดับความเสี่ยงของแต่ละประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน โดยเปรียบเทียบเกณฑ์โอกาสเกิด (แกน X) และระดับผลกระทบ (แกน Y)
ระดับความเสี่ยง |
โอกาสเกิด (ความถี่) |
ผลกระทบ |
||
ระดับผลกระทบ |
จำนวนผู้ได้รับผลกระทบ |
ความสามารถในการเยียวยา |
||
5 (สูงมาก) |
เกิดขึ้นมากกว่า 1 ครั้งต่อเดือน |
ผู้มีส่วนได้เสียเสียชีวิต |
มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในวงกว้าง หรือเกินขอบเขตของพื้นที่ปฏิบัติการ |
ไม่สามารถควบคุมหรือบรรเทาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ให้กลับสู่สภาวะปกติ และ/หรือใช้ระยะเวลาในการเยียวยามากกว่า 5 ปี |
4 (สูง) |
เกิดขึ้น 1 ครั้งต่อเดือน |
ผู้มีส่วนได้เสียทุพพลภาพ |
มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องมากกว่า 1 กลุ่มขึ้นไป(เช่น กระทบทั้ง ลูกค้าและพนักงาน เป็นต้น) |
ควบคุมหรือบรรเทาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนให้กลับสู่สภาวะปกติได้ในระยะเวลา 3-5 ปี |
3 (ปานกลาง) |
เกิดขึ้น 4-6 ครั้งต่อปี |
ผู้มีส่วนได้เสียได้รับบาดเจ็บสาหัสและ หยุดงานเกินกว่า 3 วัน |
มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียส่วนใหญ่ เพียง 1 กลุ่ม (เช่น ลูกค้า หรือคู่ค้า หรือชุมชน หรือ พนักงาน หลายราย) |
สามารถควบคุมหรือบรรเทาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนให้กลับสู่สภาวะปกติได้ในระยะเวลา 1-3 ปี |
2 (ต่ำ) |
เกิดขึ้น 2-3 ครั้งต่อปี |
ผู้มีส่วนได้เสียได้รับบาดเจ็บและต้องพบแพทย์ |
มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียบางส่วน เพียง 1 กลุ่ม (เช่น กระทบแค่ ลูกค้า หรือคู่ค้า หรือชุมชน หรือพนักงาน บางส่วนเท่านั้น) |
สามารถเยียวยาผู้มี่ส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องให้กลับสู่สภาวะปกติได้ในระยะเวลา มากกว่า 3 เดือน แต่น้อยกว่า 1 ปี |
1 (ต่ำมาก) |
เกิดขึ้น 1 ครั้งต่อปี |
ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ อนามัย และความปลอดภัยของพนักงาน หรือผู้มี่สวนได้เสีย (การปฐมพยาบาลเองเบื้องต้น) |
ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง |
สามารถควบคุมหรือบรรเทาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ให้กลับสู่สภาวะปกติได้ในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน |
ขอบเขตการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
ธุรกิจน้ำมันและ Non-oil |
|||||
ห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ |
จัดหา |
ขนส่ง |
จัดเก็บ |
การตลาด |
หน่วยงานสนับสนุน |
กิจกรรมทางธุรกิจ |
● น้ำมัน ● ก๊าซ LPG ● วัตถุดิบและอุปกรณ์สำหรับธุรกิจค้าปลีก |
● น้ำมัน ● วัตถุดิบและอุปกรณ์สำหรับธุรกิจค้าปลีก |
● น้ำมัน ● ก๊าซ LPG |
● สถานีบริการน้ำมันและก๊าซ LPG ● ร้านจำหน่ายก๊าซหุงต้ม ● ร้านสะดวกซื้อ ● ร้านกาแฟและเครื่องดื่ม ● ศูนย์บริการและซ่อมบำรุง |
● ฝ่ายทรัพยากรบุคคล |
บริษัท |
● บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด มหาชน ● บริษัท ปิโตรเลียมไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ● บริษัท พีทีจี โลจิสติก จำกัด ● บริษัท บีพีทีจี จำกัด ● บริษัท แอตลาส เอ็นเนอยี จำกัด ● บริษัท กาแฟพันธุ์ไทย จำกัด ● บริษัท จี เอฟ เอ คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์ ) จำกัด ● บริษัท สยาม ออโต้แบคส์ จำกัด ● บริษัท แมกซ์ การ์ด จำกัด ● บริษัท แมกซ์ โซลูชัน เซอร์วิส จำกัด |
ผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
ร้อยละของสถานที่ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนและมาตรการบรรเทาผลกระทบ
หมายเหตุ*: บริษัทมีมาตรการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนในทุกกระบวนการทางธุรกิจ
ผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนกลุ่มบริษัท พีทีจี
1. การเลือกปฏิบัติต่อคู่ค้า
2. การเลือกปฏิบัติต่อลูกค้า
3. การเลือกปฏิบัติต่อพนักงาน
4. สุขภาพและความปลอดภัยของชุมชน
5. สุขภาพและความปลอดภัยของลูกค้า
6. สุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน
7. มาตรฐานการครองชีพของชุมชน
8. การเข้าถึงน้ำและสุขาภิบาลของชุมชน
9. การได้มาซึ่งที่ดิน
10. ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้า
11. ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลพนักงาน
12. สภาพการจ้างงาน
13. เสรีภาพในการสมาคมและเจรจาต่อรอง
14. การจ้างแรงงานผิดกฎหมาย
ผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนคู่ค้า
มาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบสำหรับประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
ความหลากหลายและความเท่าเทียมของพนักงาน
การไม่เลือกปฏิบัติและการต่อต้านการล่วงละเมิด
พีทีจี ปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมตามกฎหมายแรงงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยมีฝ่ายบริหารทรัพยากรเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่าง ๆ ในเรื่องการจ้างงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน ค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน วันหยุด และความปลอดภัยในสถานปฏิบัติงาน เพื่อสร้างความ “อยู่ดี มีสุข” ให้แก่พนักงานทุกคน นอกจากนี้ บริษัทยังกำหนดให้มีการบังคับใช้นโยบายป้องกันการล่วงละเมิดและการไม่เลือกปฏิบัติในสถานประกอบกิจการเพื่อห้ามมิให้ ผู้บริหาร หัวหน้างาน หรือผู้ควบคุมกระทำการล่วงละเมิด (Harassment) ต่อลูกจ้างของกลุ่มบริษัท และมุ่งเน้นให้สถานประกอบกิจการเคารพต่อความหลากหลาย และปราศจากการเลือกปฏิบัติ (Discrimination) ในทุกกรณี
ดาวน์โหลดนโยบายป้องกันการล่วงละเมิดและการไม่เลือกปฏิบัติในสถานประกอบกิจการ
มาตรการแก้ปัญหาการล่วงละเมิดและการเลือกปฏิบัติในสถานประกอบกิจการ
พีทีจี กำหนดให้ขั้นตอนการแก้ปัญหาการล่วงละเมิดและการเลือกปฏิบัติในสถานประกอบกิจการต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่ระบุไว้ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท และการควบคุมกระบวนการให้เป็นไปตามระบบมาตรฐาน ISO 9001:2015 โดยกำหนดให้มีมาตราการที่ชัดเจนในการลงโทษผู้กระทำการล่วงละเมิดและเลือกปฏิบัติในรูปแบบดังต่อไปนี้
• การตักเตือนทางวาจา
• การตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร
• การพักงาน
• การให้พ้นจากสภาพการจ้างงาน
ความหลากหลายที่ พีทีจี
สัดส่วนพนักงานหญิง (%)
ตัวชี้วัดความหลากหลาย |
หน่วย |
ปี 2564 |
พนักงานหญิง |
คน |
10,592 |
% ของพนักงานทั้งหมด |
63 |
|
ผู้บริหารหญิงทั้งหมด |
คน |
56 |
% ของผู้บริหารทั้งหมด |
0.33 |
|
ผู้บริหารหญิงระดับสูง |
คน |
10 |
% ของผู้บริหารระดับสูงทั้งหมด |
0.06 |
|
ผู้บริหารหญิงระดับต้น |
คน |
29 |
% ของผู้บริหาระดับต้นทั้งหมด |
0.17 |
|
ผู้บริหารหญิงที่อยู่ในหน่วยงานที่สร้างรายได้ทั้งหมด |
คน |
7 |
% ของผู้บริหารที่อยู่ในหน่วยงานที่สร้างรายได้ทั้งหมด |
0.04 |
|
ผู้บริหารหญิงที่อยู่ในตำแหน่งที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ |
คน |
146 |
% ของตำแหน่งที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ |
0.87 |
สัดส่วนค่าตอบแทน
ระดับชั้น |
สัดส่วน (ค่าตอบแทนพนักงานหญิงโดยเฉลี่ย / ค่าตอบแทนพนักงานชายโดยเฉลี่ย) |
ผู้บริหารระดับสูง (เงินเดือน) |
0.87 |
ผู้บริหารระดับสูง (เงินเดือนและอื่น ๆ) |
0.85 |
ระดับผู้บริหาร (เงินเดือน) |
0.99 |
ระดับผู้บริหาร (เงินเดือนและอื่น ๆ) |
0.98 |
พนักงานที่ไม่อยู่ในระดับบริหาร |
0.95 |
ตัวชี้วัด |
ค่าเฉลี่ยส่วนต่างเงินเดือนระหว่างพนักงานหญิงและชาย |
ค่าเฉลี่ยส่วนต่างเงินเดือน |
4.61 |
ค่ามัธยฐานส่วนต่างเงินเดือน |
-5.90 |
ค่าเฉลี่ยส่วนต่างโบนัส |
21.80 |
ค่ามัธยฐานส่วนต่างโบนัส |
20.56 |
การมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม
การบริหารจัดการพนักงาน
การสรรหาและวางแผนอัตรากำลัง
- การวางแผนอัตรากำลัง
พีทีจี มีการวางแผนอัตรากำลังบุคลากรเป็นประจำทุกปี บริษัทมอบหมายให้หน่วยงาน HR Business Partner ทำงานร่วมกับผู้บริหารของทุกฝ่ายงานในการกำหนดอัตรากำลังเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางของธุรกิจ (Business Direction) โดยบริษัทมีการวิเคราะห์อัตรากำลังด้วยเทคนิคอัตราส่วนที่อิงตามผลประกอบการหรือยอดขาย (Productivity) ประกอบกับการวิเคราะห์โดยอาศัยความรู้ ประสบการณ์ และดุลยพินิจของผู้บริหาร (Management Judgement) นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์ภาระงาน (Workload Analysis) และแนวโน้มธุรกิจ เพื่อนำผลวิเคราะห์มาจัดทำแผนอัตรากำลังบุคลากรในทุก ๆ ปีงบประมาณ
- กลยุทธ์การสรรหา
การสรรหาพนักงานที่มีศักยภาพและประสบการณ์ในการทำงานเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ พีทีจี เพราะ พนักงาน คือ ปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้ประสบความสำเร็จและรองรับการเติบโตของธุรกิจในยุคชีวิตวิถีใหม่ หรือ New Normal บริษัทมีการกำหนดกลยุทธ์ในการสรรหาเพื่อให้ได้มาซึ่งบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและตรงต่อความต้องการของธุรกิจ ผ่านการเพิ่มช่องทางการสรรหาผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย และสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเพื่อผลิตทรัพยากรบุคคลตามความต้องการของธุรกิจ
ภาพรวมผลการดำเนินงานด้านการสรรหา
เป้าหมายการสรรหา ปี 2564 (ราย) | จำนวนพนักงานใหม่ ปี 2564 (ราย) |
19,331 | 13,330 |
การพัฒนาศักยภาพพนักงาน
พีทีจี ตระหนักถึงความสำคัญของบุคลากรต่อการดำเนินธุุรกิจและการพัฒนาองค์กรตามวิสัยทัศน์ ในการเชื่อมให้ทุกคนได้มีโอกาสเข้าถึงชีวิตที่ “อยู่ดี มีสุข” ในทุกด้านของช่วงชีวิต บริษัทจึงได้ส่งเสริมให้บุุคลากรมีความรู้ ความชำนาญ และความสามารถในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่่มขึ้้นอย่างต่อเนื่่อง โดยมอบหมายให้หน่วยงาน PTG Academy รับผิดชอบการพัฒนาทักษะพนักงาน และปรับปรุงหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการและการเปลี่ยนแปลงของการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน
การดูแลรักษาพนักงาน
- การประเมินผลปฏิบัติงานประจำปี
พีทีจี กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลปฏิบัติงานประจำปีซึ่งครอบคลุมผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดการปฏิบัติงานระดับองค์กร (Corporate Key Performance Indicator) ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานเป็นรายตําแหน่ง หรือรายบุคคล (Functional Key Performance Indicator) และตัวชี้วัดด้านพฤติกรรมตามค่านิยมองค์กร “Do Your BEST” รวมถึงจัดให้มีการประเมินผลปฏิบัติงานในรูปแบบ 360 องศา สำหรับผู้บริหาร
- การประเมินผลความผูกพันพนักงาน
พีทีจี ให้ความสำคัญกับการสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร เพื่อให้บริษัทเข้าใจความต้องการของพนักงานและสามารถนำมาต่อยอดเป็นโครงการและกิจกรรมในการเพิ่มความผูกพันของพนักงานได้อย่างต่อเนื่อง บริษัทกำหนดให้มีการประเมินผลความผูกพันและความพึงพอใจของพนักงานต่อองค์กรทุกปี โดยมอบหมายให้หน่วยงาน People & Organization Transformation เป็นผู้รับผิดชอบจัดทำการประเมินความผูกพันพนักงานประจำปี
การพัฒนาศักยภาพพนักงาน
นโยบายพัฒนาความรู้และศักยภาพของพนักงาน
พีทีจี ตระหนักถึงความสำคัญของบุคลากรต่อการดำเนินธุุรกิจและการพัฒนาองค์กรตามวิสัยทัศน์ ในการเชื่อมให้ทุกคนได้มีโอกาสเข้าถึงชีวิตที่ “อยู่ดี มีสุข” ในทุกด้านของช่วงชีวิต บริษัทจึงได้ส่งเสริมให้บุุคลากรมีความรู้ ความชำนาญ และความสามารถในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่่มขึ้้นอย่างต่อเนื่่อง โดยมอบหมายให้หน่วยงาน PTG Academy รับผิดชอบการพัฒนาทักษะพนักงาน และปรับปรุงหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการและการเปลี่ยนแปลงของการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน โดยมีกรอบนโยบาย ดังนี้
1. ฝึกอบรมโดยมีค่านิยมหลักขององค์กรเป็นพื้้นฐาน เพื่่อให้พนักงานมีความเข้าใจหลักการ แนวคิด และวัฒนธรรมการทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร
2. ฝึกอบรมความรู้พื้้นฐานที่่เกี่่ยวข้องกับการปฎิบัติงานให้กับพนักงานใหม่ทุกคน (On Boarding Program) เพื่่อให้พนักงานใหม่เกิดความเข้าใจ และสามารถปฎิบัติงานได้อย่างถููกต้อง ปลอดภัย เป็นไปตามมาตรฐานและกฎระเบียบของบริษัท
3. ฝึกอบรมเพื่่อพัฒนาความรู้เฉพาะด้าน เพื่อเพิ่่มทักษะการทำงานของพนักงานให้มีความชำนาญ เช่น หลักสูตรมาตรฐานการบริการ หลักสูตรเตรียมความพร้อมผู้จัดการสถานีบริการ เพื่่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฎิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
4. ฝึกอบรมพัฒนาด้านการบริหารคนงานเพื่่อพัฒนาทักษะและเตรียมความพร้อมการเป็นผู้นำ เช่น หลักสููตร Problem Solving Decision Making หลักสูตร Improving Leadership Skill เป็นต้น
5. ดำเนินกิจกรรมเชิงปฏิบัติที่่มุ่งเน้นในการบริหารจัดการ การทำงานเพื่่อเพิ่่มประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่่อง
6. ฝึกอบรมในรูปแบบ Self-learning ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ “Your Next YOU by SEAC” ซึ่่งเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) ที่พนักงานสามารถเลือกเรียนได้ตามแนวทางที่ถนัด โดยกำหนดรูปแบบและหลักสูตรการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง (Personalized Learning) เพื่อให้ทันต่อการเปลี่่ยนแปลง (Speed of Change) และสามารถพัฒนาทักษะใหม่ได้อย่างรวดเร็วในยุคการดำเนินชีวิตแบบปกติใหม่
พีทีจี บริหารจัดการการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตามความจำเป็นของตำแหน่ง โดยแยกการดำเนินงาน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหาร และกลุ่มบุคลากร โดยมีแนวทางการพัฒนาศักยภาพและทักษะ ดังนี้
1) กลุ่มผู้บริหาร (ระดับผู้จัดการส่วนขึ้นไป)
พีทีจี มุ่งบริหารจัดการการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารในรูปแบบผู้นําในอนาคตของ พีทีจี (Future Leader) เพื่อรองรับการเติบโตขององค์กร ผู้บริหารจะต้องได้รับการประเมิน 360 องศาจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์จุดเด่นและจุดด้อยเพื่อการพัฒนาเพิ่มเติม และผู้บริหารจะต้องจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan) ระบุประเด็นที่ต้องการพัฒนาอย่างน้อย 2 ประเด็น และหลักสูตรที่ต้องการศึกษาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาองค์กรต่อไป
2) กลุ่มบุคลากร (ระดับผู้จัดการแผนกหรือเทียบเท่าลงมา)
พีทีจี ส่งเสริมการบริหารและพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อรองรับการเติบโตทางธุรกิจน้ำมัน และการขยายธุรกิจ Non-oil ในอนาคต โดยรูปแบบการฝึกอบรมมีหลากหลายรูปแบบ เช่น การอบรมเชิงปฏิบัติการ การหมุนเวียนเปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบตามเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ (Career Path) เพื่อให้พนักงานสามารถพัฒนาทักษะ ความชํานาญจากประสบการณ์ในตําแหน่งหน้าที่ใหม่ เป็นต้น
การดำเนินงานเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร
ตัวชี้วัด | หน่วย | 2564 | |
ชาย | หญิง | ||
จำนวนชั่วโมงการอบรมพนักงานโดยเฉลี่ยต่อ FTE |
ชั่วโมง/คน/ปี |
8.29 |
|
9.55 |
7.56 |
||
- ระดับผู้จัดการขึ้นไป |
ชั่วโมง/คน/ปี |
146.70 |
173.09 |
- พนักงานระดับบริหาร |
ชั่วโมง/คน/ปี |
4.09 |
4.23 |
- พนักงานระดับปฏิบัติการ |
ชั่วโมง/คน/ปี |
6.15 |
8.9 |
ค่าใช้จ่ายการอบรมพนักงานโดยเฉลี่ยต่อ FTE |
บาท/คน/ปี |
558.44 |
|
696.66 |
478.39 |
||
- ระดับผู้จัดการขึ้นไป |
บาท/คน/ปี |
20,130.97 |
27,702.68 |
- พนักงานระดับบริหาร |
บาท/คน/ปี |
574.22 |
576.86 |
- พนักงานระดับปฏิบัติการ |
บาท/คน/ปี |
576.60 |
643.12 |
ค่าใช้จ่ายสำหรับการอบรมพนักงานทั้งหมด |
บาท | 9,293,873.65 |
หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพพนักงาน
หลักสูตร |
ผลประโยชน์ต่อธุรกิจ |
ผลประโยชน์ต่อธุรกิจ เชิงปริมาณ |
สัดส่วนพนักงานที่ได้รับการอบรมต่อพนักงานทั้งหมด (FTE) |
การอบรมหลักสูตรไคเซ็น (KAIZEN) - จัดให้มีการอบรมหลักหลักสูตรพื้นฐานและหลักสูตรขั้นสูงของ โดยเปิดโอกาสให้พนักงานจากทุกหน่วยงานนำส่งผลงานนวัตกรรมไคเซ็นเพื่อประดิษฐ์หรือปรับปรุงกระบวนการ ระบบ หรือการบริการ เพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และรวดเร็วยิ่งขึ้น |
- เกิดนวัตกรรมส่งเสริมการบริการ และกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้บริษัทสามารถลดต้นทุน และค่าใช้ต่าง ๆ ได้เพิ่มมากขึ้น |
- สามารถลดต้นทุนของบริษัทได้ทั้งสิ้น 16.10 ล้านบาท |
4.64 |
การอบรมหลักสูตร Productivities initiative - เพิ่มทักษะของพนักงานและยกระดับการปรับปรุงผ่านเครื่องมือต่าง ๆ รวมทั้งการลงมือปฏิบัติจริง โดยมีผู้บริหารและฝ่าย Process Transformation ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำและเทคนิคต่าง ๆ มีการติดตามความคืบหน้า ตรวจสอบ และรายงานผลเป็นระยะเพื่อให้พนักงานมีการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างดำเนินโครงการ |
- สามารถนำไปประยุกต์ใช้และพัฒนานวัตกรรมที่สามารถนำกลับมาใช้ในการลดต้นทุน แก้ปัญหา สร้างคุณค่า และเพิ่มมูลค่าให้แก่องค์กรได้ในอนาคต |
- สามารถสร้างรายได้ให้บริษัท 12.48 ล้านบาท และสามารถลดต้นทุนของบริษัท 29.93 ล้านบาท นอกจากนี้ยังประหยัดค่าใช้จ่ายของบริษัท ได้ทั้งสิ้น 12.17 ล้านบาท |
1.19 |
ผลตอบแทนจากทุนมนุษย์
ตัวชี้วัด |
2561 | 2562 | 2563 | 2564 |
รายได้ทั้งหมด (ล้านบาท) |
108,142.00 |
120,251.82 |
104,668.09 |
133,759.82 |
ค่าบริหารจัดการ (ล้านบาท) |
100,386.06 |
110,126.54 |
93,823.90 |
123,626.89 |
ค่าใช้จ่ายด้านทรัพยากรบุคคล (ล้านบาท) |
652.51 |
606.22 |
3,092.74 |
3,542.47 |
สัดส่วนผลตอบแทนจากทุนมนุษย์ (HC ROI) |
166.73 |
199.36 |
34.84 |
1.00 |
การดูแลรักษาพนักงาน
ผลตอบแทนและสวัสดิการ
พีทีจี ให้ความสำคัญต่อการกำหนดค่าตอบแทนและสวัสดิการของพนักงาน โดยคำนึงถึงความเหมาะสม เป็นธรรม เพื่อให้พนักงานและครอบครัว อยู่ดี มีสุข ซึ่งองค์ประกอบค่าตอบแทนและสวัสดิการของบริษัท ได้แก่
• เงินเดือน: บริษัทกำหนดอัตราเงินเดือนของพนักงานให้สอดคล้องกับค่างานตามตำแหน่งงาน ค่าครองชีพ ค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย และพิจารณาให้อยู่ในระดับเทียบเคียงได้กับธุรกิจชั้นนำประเภทเดียวกันในประเทศไทย และสภาวะการแข่งขันของธุรกิจในปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
• สวัสดิการและค่าตอบแทนจูงใจระยะสั้น: บริษัทมอบสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ให้แก่พนักงานทุกระดับชั้น ได้แก่ โบนัสประจำปี เงินรางวัลตามยอดขาย สวัสดิการส่วนลดในการซื้อสินค้าและบริการของกลุ่มบริษัท แผนประกันชีวิตและสุขภาพของพนักงาน การตรวจสุขภาพประจำปี สวัสดิการช่วยเหลือยามเกิดอุบัติเหตุ เหตุฉุกเฉินหรือประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อพนักงาน และการให้สิทธิ์พนักงานในการซื้อแผนประกันชีวิตให้แก่สมาชิกครอบครัวในราคาสวัสดิการ เพื่อเสริมสร้างชีวิตความเป็นอยู่ และสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ นอกจากนี้บริษัทยังให้สิทธิในการลาคลอดบุตรแก่พนักงานหญิงที่ตั้งครรภ์ดังต่อไปนี้
1. พนักงานหญิงมีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตร ครรภ์หนึ่งติดต่อกันไม่เกิน 98 วัน รวมวันหยุดโดยได้รับค่าจ้าง เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานปกติ ตลอดระยะเวลาที่ลาแต่ไม่เกิน 45 วัน และจะได้รับค่าจ้างตามสิทธิจากประกันสังคมอีก 45 วัน
2. กรณีที่มีใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งมาแสดงว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมต่อไปได้ บริษัทจะพิจารณาเปลี่ยนหน้าที่งานให้แก่พนักงานนั้นเป็นการชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอด ตามที่บริษัทเห็นสมควรเป็นกรณีๆ ไป
3. การลาเพื่อคลอดบุตร ต้องยื่นใบลาโดยตรงต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้า กรณีที่พนักงานไม่สามารถจะลาล่วงหน้าได้ ให้สมาชิกในครอบครัวแจ้งการลาคลอดแทนภายใน 3 วัน นับจากวันที่เริ่มหยุดเพื่อการคลอดบุตร
4. การลหยุดเนื่องจากการแท้งบุตรขณะอายุครรภ์ยังไม่ครบ 28 สัปดาห์ ให้ถือว่าเป็นการลาป่วย
และให้สิทธิลาโดยไม่ขอรับค่าจ้าง ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1). พนักงานประจำที่มีอายุงานเกิน 1 ปีมีสิทธิลาหยุดงานโดยไม่ขอรับคำจางได้ไม่เกินปิละ 3 วัน โดยรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลา
(2). พนักงานจะต้องยื่นใบลาต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน และเมื่อได้รับอนุมัติจากกรรมการผู้จัดการหรือผู้ซึ่งกรรมการผู้จัดการมอบหมายเรียบร้อยแล้ว พนักงานจึงจะลางานได้
• ค่าตอบแทนจูงใจระยะยาว: บริษัทจัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับพนักงาน เพื่อให้เป็นเงินออมหลังเกษียณ ซึ่งให้พนักงานได้สะสมเงินออมได้ตั้งแต่ร้อยละ 3-15 ต่อเดือน และกำหนดให้พนักงานสามารถซื้อหลักทรัพย์ของกลุ่มบริษัทได้ในราคา ณ วันที่บริษัทมีการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (Initial Public Offering: IPO) โดยไม่มีเงื่อนไขการถือครอง เพื่อให้พนักงานมีส่วนร่วมและมีสิทธิในฐานะเจ้าของกิจการคนหนึ่ง ซึ่งเป็นการสร้างความผูกพันต่อองค์กร และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทที่พร้อมจะสร้างความเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน
ดาวน์โหลดนโยบายค่าตอบแทนและสวัสดิการ
การประเมินผลความผูกพันพนักงาน
พีทีจี จัดทำแบบสำรวจเพื่อประเมินความผูกพันพนักงานเป็นประจำทุกปี และได้นำผลการประเมินความผูกพันพนักงานมาวิเคราะห์ โดยพบว่าปัจจัยที่ควรมุ่งเน้นเพื่อเพิ่มความผูกพันพนักงานได้แก่ การยกย่องชมเชย (นอกเหนือจากรางวัลและค่าตอบแทน) และการจัดการบุคลากร โดยบริษัท ได้จัดให้ทุกส่วนงานมีส่วนร่วมในการจัดทำข้อเสนอแนะให้แก่องค์กรในการพัฒนาปัจจัยที่ควรมุ่งเน้นเพื่อเพิ่มความผูกพันพนักงาน อีกทั้ง ยังจัดให้มีกิจกรรม CEO Townhall เพื่อให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่มีช่องทางในการสื่อสารเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินธุรกิจประจำปี ค่านิยมองค์กร และข้อคิดในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับพนักงาน นอกจากนี้ บริษัทได้จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งในด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ สุขภาวะทางสังคม และสุขภาพทางการเงิน ให้แก่พนักงานในองค์กร เพื่อให้เกิดความ อยู่ดี มีสุข อย่างแท้จริง
สถิติผลสำรวจความผูกพันพนักงาน
ผลการดำเนินงานเพื่อเพิ่มความผูกพันพนักงาน
การบริหารทรัพยากรบุคคล
ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมองค์กร
พีทีจี ผนวกระบบมาตรฐานแบบบูรณาการ (Integrated Management System) ทั้ง 3 ระบบเข้าด้วยกัน ซึ่งเรียกว่า “ระบบการจัดการ” ตามมาตรฐาน ISO 9001: 2015 Quality Management Systems (มอก. 9001-2559), ISO 14001: 2015: Environmental Management Systems (มอก.14001-2559) และ ISO 45001: 2018 Occupational Health and Safety Management Systems (มอก. 45001-2561) อีกทั้ง บริษัทยังกำหนดนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม (Quality, Security, Occupational Health and Safety, Environmental Policy: QSSHE) เพื่อดูแลควบคุมกระบวนการปฏิบัติงานตลอดห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ ครอบคลุมการปรับปรุงการให้บริการและการเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement) ให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) รวมถึงจัดการความเสี่ยงและโอกาสด้าน QSSHE ขององค์กร โดยนโยบายฯ และระบบจัดการของบริษัทใช้ป้องกันผลกระทบและควบคุมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยครอบคลุมพนักงาน คู่ค้า และผู้รับเหมาทุกคนที่ร่วมปฏิบัติงานกับบริษัทในทุก ๆ สถานปฏิบัติการของบริษัท
โครงสร้างการบริหารงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมองค์กร
พีทีจี ได้มีการดำเนินการบริหารจัดการทางด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลทางด้านนโยบายความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม โดยมีประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นประธาน และมีกรรมการผู้จัดการ บริษัทในกลุ่มเป็นสมาชิกเพื่อกำหนดทิศทางการบริหารจัดการด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มบริษัทฯ
พีทีจี ส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมของพนักงานทุกระดับผ่านคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) โดยบริษัทจัดตั้งคณะกรรมการฯ ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีบทบาทและหน้าที่ครอบคลุมการพิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยนอกงาน พร้อมทั้งเสนอแนะมาตรการ หรือแนวทางการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อลดการเจ็บป่วยและการสูญเสียของพนักงาน และผู้รับเหมา โดยมีการจัดทำระบบการบริหารจัดการความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มบริษัทฯ และได้มีการนำเป้าหมายด้านการเจ็บป่วยของพนักงานจนถึงขั้นเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลขึ้นไปมาตั้งเป็น Key Performance Indicators (KPI) ของพนักงานและผู้บริหารในหน่วยงานที่ดูแลบริหารงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมองค์กร และมีการประชุมรายงานสรุปผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมภายในหน่วยงานเป็นประจำทุกเดือน นอกจากนี้ยังมีการจัดประชุมทบทวนฝ่ายจัดการ ปีละ 2 ครั้ง ตามข้อกำหนดของ ISO 9001 ISO14001 ISO45001 โดยมีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) และผู้บริหารเข้าร่วมประชุมด้วย และในทุก ๆ ไตรมาส ก็ได้มีการติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินงานโดยคณะกรรมการกำกับดูแลทางด้านนโยบายความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมและฝ่ายบริหารความเสี่ยงองค์กรเพื่อรายงานไปยังคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการบริษัทต่อไป
การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม
- การระบุอันตราย (Hazard identification)
พีทีจี ได้จัดทำกระบวนการเพื่อระบุอันตรายที่มีในระบบการจัดการ โดยกระบวนการนี้บริษัทได้พิจารณาถึง วิธีการปฏิบัติงาน ปัจจัยทางสังคม การได้รับผลกระทบเชิงลบจากการร่วมเป็นที่ปรึกษา ภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์กร กิจกรรมและสถานการณ์แบบประจำหรือไม่ประจำ รวมถึงอันตรายที่เกิดจากโครงสร้างพื้นฐาน วัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น โดยฝ่ายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมได้นำผลการบ่งชี้อันตรายมาปรับใช้ และปรับปรุงการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยที่รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่หรือกลุ่มธุรกิจ และผู้เกี่ยวข้องร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการควบคุมความเสี่ยง สำหรับระดับความเสี่ยงปานกลางขึ้นไป และแผนปฏิบัติการลดความเสี่ยง สำหรับความเสี่ยงสูงขึ้นไป เช่น การปรับปรุงระบบดับเพลิงคลังน้ำมัน การปรับปรุงพื้นที่จัดเก็บขยะอันตราย การกำหนดการตรวจสอบความปลอดภัยในสถานีบริการน้ำมันและแก๊ส LPG ร้านสะดวกซื้อ Max Mart และร้านกาแฟพันธุ์ไทย ในรูปแบบออนไลน์ เป็นต้น
- การรายงานเกี่ยวกับอันตรายและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
พีทีจี กำหนดให้พนักงานที่พบเห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์อันตรายติดต่อหรือแจ้งไปยังหัวหน้างานให้รับทราบทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น โดยหัวหน้างานต้องทำการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยที่รับผิดชอบในพื้นที่นั้นให้รับทราบผ่านช่องทางโทรศัพท์ e-mail หรือช่องทางอื่น ๆ ที่สามารถติดต่อได้ เมื่อได้รับแจ้งข้อมูล เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยจะนัดประชุมร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการสอบสวนร่วมกัน เพื่อบ่งชี้สาเหตุของอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งหาแนวทางการแก้ไขและป้องกัน นอกจากนี้ บริษัทยังกำหนดนโยบายหยุดการทำงาน (Stop Work Policy) เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน โดยสนับสนุนให้พนักงานทุกระดับและผู้รับเหมาหยุดการปฏิบัติงานทันที เมื่อพบว่ามีสภาพการทำงานและการกระทำที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม
การดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมองค์กร
- การตรวจสอบและอบรมด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในสถานีบริการ
- การจัดทำและสื่อสารข้อกําหนดด้านความปลอดภัยในการคัดเลือกผู้รับเหมา และการปฏิบัติงาน
- การป้องกันผลกระทบและอันตรายจากการดำเนินธุรกิจต่อชุมชนผ่านการจัดทำประชาพิจารณ์ และการควบคุมการก่อสร้างเพื่อสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยระหว่างการจัดตั้งสถานีบริการ
สถิติด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการดำเนินงานเพื่อบรรเทาผลกระทบ
ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมการทำงาน
กลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคม
พีทีจี ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมตามมาตรฐานแนวทาง ความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 โดยยึดหลักการประกอบกิจการด้วยความเป็นธรรม การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น การเคารพสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม
ทั้งนี้ เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมระดับองค์กร บริษัทจึงได้จัดทำกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมกับชุมชน สังคม รวมถึงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตามแนวคิดการสร้างการยอมรับต่อการดำเนินงานของกิจการ (License to operate) และสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อรักษาสมดุลในการดำเนินธุรกิจ ตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย และป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้มีการดำเนินตามกลยุทธ์ ดังต่อไปนี้
1. สร้างความผูกพันกับชุมชนโดยรอบสถานปฏิบัติการผ่านการดำเนินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมที่เน้นการสร้างคุณค่าร่วมเพื่อความ อยู่ดี มีสุข
2. สร้างเครือข่ายและความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการพัฒนาชุมชน สังคม และร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
3. ส่งเสริมโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมบนพื้นฐานของ 3 องค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การส่งเสริมสังคมผู้สูงอายุ และการสร้างวิถีชีวิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
4. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ เช่น ชุมชน หน่วยราชการ ลูกค้า คู่ค้า พนักงาน
ดาวน์โหลดกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคม
สัดส่วนการลงทุนทางสังคม
พีทีจี ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นในการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
การบริจาคเพื่อการกุศล
ประเภทการบริจาค |
มูลค่า (บาท) |
ปี 2564 | |
การบริจาคเงินสด |
112,136,962 |
ค่าใช้จ่ายสำหรับพนักงานจิตอาสาในช่วงเวลาทำงาน |
78,526 |
การบริจาคสิ่งของและการบริการ |
28,655,745 |
ค่าใช้จ่ายสำหรับการบริหารจัดการ |
937,824 |
การสำรวจความพึงพอใจของชุมชน
ในปี 2564 พีทีจี ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของชุมชนเพื่อประเมินการดำเนินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ซึ่งทำได้เกินเป้าหมายที่คาดไว้ โดยอัตราความพึงพอใจนี้ถูกใช้เป็นตัวชี้วัดอย่างหนึ่งที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างบริษัทกับชุมชนและการยอมรับต่อการดำเนินงานของกิจการ
ปี | อัตราความพึงพอใจของชุมชน |
|
ผลสำรวจ |
เป้าหมาย | |
2563 |
96.58% |
80% |
2564 |
91.06% |
90% |
โครงการความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน
พีทีจี ได้กำหนดกรอบการดำเนินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมระดับองค์กร ภายใต้แนวคิด “พีที ทำจริง ไม่ทิ้งกัน” ซึ่งประกอบด้วย 3 เป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การส่งเสริมสังคมผู้สูงอายุ และการสร้างวิถีชีวิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยมีรายละเอียดดังนี้
ประเด็น |
คุณภาพชีวิต |
สังคมผู้สูงอายุ |
สิ่งแวดล้อม |
ความเชื่อมโยงกับ SDGs |
4.2 8.3 |
3.8 |
15.2 |
วัตถุประสงค์ |
สนับสนุนด้านการศึกษาและโอกาสในการพัฒนาความรู้ และรายได้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน |
ส่งเสริมสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดีและสนับสนุนอาชีพผู้สูงอายุเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมสูงวัย |
สร้างวิถีชีวิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และพัฒนาพื้นที่สีเขียวเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ และรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ |
ความเชื่อมโยงกับ กลยุทธ์ทางธุรกิจ |
พีทีจี เน้นการสร้างโอกาส และความรู้ให้แก่ชุมชน โดยมุ่งเป็นศูนย์กลางที่แบ่งปัน รักษา และพัฒนาทักษะความชำนาญ ประสบการณ์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ บริการ ของบริษัทและชุมชน |
พีทีจี มุ่งเป็นจุดหมายปลายทางแห่งใหม่ในการเข้าถึงนวัตกรรมด้านสุขภาพและสุขภาวะ(Wellness & Wellbeing) ทั้งในด้านการรักษาและป้องกัน เพื่อเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่สังคมไทย |
พีทีจี มุ่งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่คุณค่า และส่งเสริมการสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ |
โครงการ / กิจกรรมหลัก |
- การสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่เยาวชน - การริเริ่มโครงการการสร้างคุณค่าร่วมเพื่อพัฒนารายได้ชุมชนและท้องถิ่น |
- กิจกรรมตรวจสุขภาพ และกิจกรรม “ชุมชนตาสว่าง” ภายใต้โครงการค่ายอาสา พีที ทำจริง ไม่ทิ้งกัน - การจ้างงานผู้สูงอายุในสถานประกอบกิจการ |
- กิจกรรมปลูกป่าสร้างปอด ภายใต้โครงการค่ายอาสา พีที ทำจริง ไม่ทิ้งกัน |
ตัวชี้วัดทางธุรกิจ |
- จำนวนพนักงานเข้าร่วมกิจกรรม - ผลประเมินความพึงพอใจของชุมชน - จำนวนข้อร้องเรียนที่มีนัยสำคัญจากชุมชน - รายได้ที่เพิ่มขึ้นของบริษัท |
- จำนวนพนักงานเข้าร่วมกิจกรรม - ผลประเมินความพึงพอใจของชุมชน - จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการจ้างงาน - จำนวนข้อร้องเรียนที่มีนัยสำคัญจากชุมชน |
- จำนวนพนักงานเข้าร่วมกิจกรรม - ผลประเมินความพึงพอใจของชุมชน - จำนวนข้อร้องเรียนที่มีนัยสำคัญจากชุมชน |
ตัวชี้วัดด้านสังคม / สิ่งแวดล้อม |
- จำนวนเยาวชนที่ได้รับทุนการศึกษา - รายได้ชุมชนที่เพิ่มขึ้น |
- จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับบริการสุขภาพ - จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับแว่นสายตา - มูลค่าการจ้างงานผู้สูงอายุ - ผลลัพธ์ทางสังคมจากการลงทุน |
- จำนวนต้นไม้ที่ได้รับการปลูกในพื้นที่ชุมชน - จำนวนก๊าซเรือนกระจกที่สามารถลดได้ |
ผลการดำเนินงานตามกรอบการดำเนินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคม
ในปี 2564 พีทีจี ได้ประเมินและติดตามความคืบหน้าของแต่ละกิจกรรมหลักตาม 3 เป้าหมาย ซึ่งสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ตามด้านล่าง
ดาวน์โหลดผลการดำเนินงานตามกรอบการดำเนินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมปี 2564