การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

นโยบายในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม


พีทีจีได้มีการทบทวนนโยบายการบริหารจัดการคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาถึงปัจจัยภายใน-ภายนอกที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เช่น แผนกลยุทธ์ทางด้านความยั่งยืนของบริษัท  นโยบายการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาครัฐ ความเสี่ยงในการจัดการทางด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม รวมถึงประเด็นต่างๆตามระบบการบริหารจัดการทางด้านคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (ISO9001 ISO14001 ISO45001) โดยนโยบายฉบับใหม่ จะแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างจริงจังของบริษัท ในการแก้ไขปัญหาทางด้านมลพิษอากาศ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และเป้าหมายที่มุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก


นโยบายด้านบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน

พีทีจี กำหนดนโยบายด้านบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนเพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณ์ในการบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินธุรกิจ ตามแนวคิดการบริหารจัดการขยะ โดยไม่กระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ สนับสนุนให้มีการลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลาย (reduce) นำกลับมาใช้ซ้ำ (re-use) หรือผ่านกระบวนการเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (recycle) เช่น การรณรงค์นำแกลลอนน้ำมันกลับมาใช้ซ้ำ และการลดการใช้ถุงพลาสติก ส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกแบบบรรจุภัณฑ์และคัดสรรคู่ค้าที่จัดส่งวัสดุ หรือผลิตบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงร่วมปลูกฝังวัฒนธรรมการลดการใช้บรรจุภัณฑ์และการเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรผ่านการสร้างความตระหนักรู้ให้กับพนักงาน


ดาวน์โหลดนโยบายด้านบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน

การบริหารจัดการพลังงาน

เนื่องจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานเชื้อเพลิง รวมถึงการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในสำนักงาน และเพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปตามมาตรฐานต่างๆ พีทีจี จึงมีการบันทึกข้อมูลปริมาณพลังงานที่ใช้ เช่น ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงของรถขนส่ง หรือการใช้ไฟฟ้าภายในสำนักงาน เป็นต้น เพื่อให้ได้รับทราบแนวโน้มของการใช้พลังงานในแต่ละปี รวมทั้งการรณรงค์ลดการใช้พลังงานหรือเลือกใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น


ผลการดำเนินงาน
พีทีจี ดำเนินโครงการลดการใช้ไฟฟ้าภายในสำนักงานใหญ่อย่างต่อเนื่อง โดยสื่อสารให้พนักงานรับทราบถึงวิธีการประหยัดพลังงานและการใช้ไฟฟ้าอย่างเหมาะสมผ่านอีเมล และระบบอินทราเน็ตอย่างสม่ำเสมอในทุกๆ สัปดาห์ รณรงค์สื่อสารภายในพื้นที่ เพื่อขอความร่วมมือผู้ใช้งาน ปิดไฟทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน รวมถึงกรณีหลังเลิกงาน ขอความร่วมมือพนักงานมานั่งในพื้นที่เดียวกัน เพื่อปิดไฟส่องสว่างในบางพื้นที่ที่ไม่จำเป็นลง การตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ ไม่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส จัดกิจกรรมลุ้นรับรางวัลอย่างต่อเนื่อง เช่น กิจกรรมผ่านเกมรณรงค์การประหยัดพลังงาน ผ่านการทำกิจกรรมสะสมพ้อยแลกรางวัล เพื่อให้พนักงานร่วมกิจกรรมประหยัดพลังงานในสำนักงาน เป็นกระบวนการสร้างความตระหนักให้กับพนักงาน นอกจากนี้ บริษัทยังได้ดำเนินโครงการ Smart Plug คือการลดชั่วโมงการใช้ไฟของเครื่องทำน้ำร้อนน้ำเย็นจากวันละ 24 ชั่วโมงเป็น 15 ชั่วโมง ซึ่งสามารถช่วยยืดอายุการใช้งานเครื่องทำน้ำร้อนน้ำเย็น และโครงการรณรงค์ปิดไฟช่วงเวลากลางวันเพื่อลดการใช้ไฟฟ้าช่วงเวลาที่ไม่จำเป็น โครงการเปิดไฟเฉพาะพื้นที่ที่มีคนนั่งทำงานเพื่อลดการใช้ไฟฟ้าบริเวณที่ไม่ใช้งาน


สำหรับผลการดำเนินงานตามเป้าหมายในปี 2566 บริษัทมีปริมาณไฟฟ้าเฉลี่ยรายบุคคล (กิโลวัตต์ชั่วโมง/คน) ภายในสำนักงานใหญ่เพิ่มขึ้นจากปีฐาน (2565) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 83 เนื่องจากมีการผ่อนปรนมาตรการโควิด-19 จึงมีการกลับเข้ามาทำงานของพนักงานในสำนักงานใหญ่เพิ่มมากขึ้น

ตัวชี้วัด 2563 2564 2565 2566
ปริมาณการใช้ไฟฟ้า (kWh) 210,414 166,473 272,179 286,856
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ย (kWh/คน) 347 157 336 617
ค่าไฟฟ้า (ล้านบาท) 1.26 1.00 1.63 1.90
ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (บาท/คน) 2,075 945 2,010 4,089


โครงการสำคัญอื่น ๆ เกี่ยวกับการรณรงค์ลดการใช้ไฟฟ้าหรือประหยัดพลังงาน
  • โครงการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
    โครงการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง คือ การควบคุมการใช้ปริมาณน้ำมัน โดยมีการดำเนินการเก็บข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามค่าปรับส่วนเกิน และรายงานผลการใช้น้ำมันแก่ผู้บริหารทุกเดือน
  • โครงการการจัดประชุมสีเขียว (Green Meetings) สํานักงานใหญ่
    พีทีจี ได้มีการจัดโครงการการจัดประชุมสีเขียว โดยมุ่งเน้นการเลือกสถานที่ประชุมให้เหมาะสมกับจำนวนผู้เข้าประชุม ลดการใช้อุปกรณ์ที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ห้ามรับประทานอาหารภายในห้องประชุม เพื่อลดการเกิดขยะ และปิดไฟส่องสว่าง รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้า ภายในห้องประชุมทุกครั้ง หลังเลิกใช้งาน เช่น ทีวี โปรเจคเตอร์ เป็นต้น


การบริหารจัดการน้ำ

น้ำเป็นทรัพยากรที่สำคัญสำหรับการประกอบธุรกิจ อุตสาหกรรมและกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ อย่างไรก็ตามความเสี่ยงและผลกระทบจากปัญหาที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการใช้น้ำ เช่น ปัญหาขาดแคลนน้ำและคุณภาพน้ำ ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นในประเทศไทย ดังนั้นการบริหารจัดการน้ำจึงมีความสำคัญเพื่อให้การใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีน้ำใช้อย่างยั่งยืนโดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม
พีทีจี ได้เล็งเห็นความสำคัญของการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนตระหนักถึงความเสี่ยงและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการนำน้ำจากแหล่งน้ำมาใช้ในกิจกรรมและกระบวนการผลิตของบริษัท และการปล่อยน้ำทิ้งที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมภายนอก รวมถึงต่อบริษัท ดังนั้น พีทีจี จึงได้มีการวิเคราะห์คุณภาพน้ำก่อนที่จะปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนใกล้เคียง

มาตรการและแนวทางประหยัดน้ำ

พีทีจี มีการกำหนดมาตรการและแนวทางในการประหยัดน้ำ โดยมีการดำเนินการปรับอัตราการไหลของน้ำให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ซ่อมแซมอุปกรณ์ที่ชำรุดเพื่อไม่ให้เกิดการรั่วไหลของน้ำ ดำเนินการเปลี่ยนสุขภัณฑ์เพื่อการประหยัดน้ำที่สถานีบริการ บันทึกปริมาณน้ำรายวันเพื่อเป็นข้อมูลในการควบคุมการใช้น้ำ และมีการกำหนดตัวชี้วัดในการควบคุมค่าน้ำที่สถานีบริการ การดำเนินการต่าง ๆ บริษัทดำเนินการเพื่อเป็นแนวทางในการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และลดการสูญเสียน้ำไปโดยเปล่าประโยชน์


  • กิจกรรมลดค่าความสกปรกของน้ำทิ้งจากสถานีบริการ
    -  กำหนดให้สถานีบริการทุกสาขา ต้องมีการทำความสะอาด บ่อดักไขมัน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
    - การส่งเสริมการจัดการน้ำเสียตั้งแต่ต้นทาง โดยการผลักดันให้มีการติดตั้งระบบบัดบำน้ำเสียอื่น ๆ หรือถังดักไขมัน ภายในพื้นที่ของผู้เช่า เช่น ร้านกาแฟ, ร้านมินิมาร์ท, ร้านขายข้าวแกง เป็นต้น และเน้นย้ำไม่ทิ้งขยะมูลฝอย เศษอาหาร และสารเคมีลงสู่รางระบายน้ำโดยตรง  
  • กิจกรรมลดการใช้น้ำที่สถานีบริการ
    ผู้จัดการสาขาจดมิเตอร์น้ำรายวันในแต่ละช่วงเวลา เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของปริมาณการใช้น้ำ
    -  ผู้จัดการสาขาหรือผู้จัดการเขตสำรวจจุดรั่วซึมตามอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมแจ้งการเข้าซ่อมแซม
    -  กำหนดการใช้น้ำของแม่บ้าน ไม่เปิดน้ำทิ้งไว้ตอนล้างห้องน้ำ โดยให้ใช้วาล์วเปิด-ปิดที่ปลายสายยางแทน
    -  ปรับแรงดันของวาล์วน้ำในระดับแรงที่ไม่กระทบการใช้น้ำและการให้บริการ
    -  โครงการ SAFETY ACTIVITY การดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย ภายในสถานีบริการ โดยบ่อดักไข มีความสำคัญในการบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมดภายในสถานีบริการก่อนที่จะปล่อยออกสู่สาธารณะ ผู้จัดการสถานีบริการจะต้องตรวจสอบและทำความสะอาดบ่อดักไขมันทุกสัปดาห์ เพื่อป้องกันข้อร้องเรียนจากชุมชนโดยรอบสถานีบริการและหน่วยงานราชการ ดังนั้นจึงมีการจัดทำวิธีในการทำความสะอาดบ่อดักไขมัน ซึ่งมีการจัดทำเป็นคลิป VDO โดยผู้เข้าชมสามารถ scan QR Code เพื่อศึกษาวิธีการทำความสะอาดบ่อดักไขมัน
    - การรณรงค์สื่อสารภายในพื้นที่ เพื่อขอความร่วมมือผู้ใช้งาน ปิดน้ำให้สนิททุกครั้งหลังใช้งาน รวมถึงกรณีพบความผิดปกติ เช่น วาล์วปิดไม่สนิท, ท่อน้ำรั่วซึม เป็นต้น ต้องแจ้งผู้รับผิดชอบ เพื่อทำการแก้ไขทันที

การบริหารจัดการขยะ

พีทีจี มีการสื่อสาร รณรงค์ ส่งเสริม และสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมให้กับพนักงานภายในองค์กรโดยยึดหลัก 3R คือ Reduce Reuse Recycle เพื่อลดปริมาณการเกิดขยะภายในองค์กร และนำขยะที่สามารถรีไซเคิลได้เข้าสู่กระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักการ Circular Economy (ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน) โดยมีปริมาณขยะแต่ละประเภทที่เกิดขึ้นในปี 2566 ดังนี้

ประเภทของเสีย ปริมาณ (ตัน)
ของเสียไม่อันตรายทั้งหมด 240.31
ของเสียอันตรายทั้งหมด 61.28
รวมของเสียทั้งหมด 301.59
-ปริมาณของเสียไม่อันตรายที่นำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) 14.65
-ปริมาณของเสียอันตรายที่นำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) 5.78
รวมของเสียที่นำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) 20.43

พีทีจี มีการเก็บรวบรวมปริมาณขยะแต่ละประเภท ผ่านการตรวจสอบการคัดแยกขยะโดยแม่บ้าน และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม และชั่งน้ำหนักขยะแต่ละประเภท โดยตรวจสอบ และยืนยันข้อมูลปริมาณขยะ โดยผู้จัดการหน่วยงาน หรือผู้รับกำจัดขยะ

การบริหารจัดการขยะหรือของเสียแต่ละประเภทของบริษัท

ประเภทขยะ วีธีการบริหารจัดการขยะ
ขยะทั่วไป คัดแยก และส่งกำจัดตามรอบที่เทศบาลหรือสำนักงานท้องถิ่นแต่ละพื้นที่กำหนด
ขยะอินทรีย์ คัดแยกขยะเศษอาหาร เพื่อไปทำปุ๋ย และส่วนที่เหลือส่งกำจัดตามรอบที่เทศบาลหรือสำนักงานท้องถิ่นแต่ละพื้นที่กำหนด
ขยะรีไซเคิล คัดแยก และขายให้กับผู้รับซื้อเพื่อนำไปรีไซเคิล
ขยะอันตราย คัดแยก และติดต่อผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ขนส่งและกำจัด โดยขึ้นทะเบียนต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นผู้ดำเนินการ

พีทีจี มีการสื่อสาร รณรงค์ ส่งเสริม และสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมให้กับพนักงานภายในองค์กรโดยยึดหลัก 3R คือ Reduce Reuse Recycle เพื่อลดปริมาณการเกิดขยะภายในองค์กร และนำขยะที่สามารถ
รีไซเคิลได้เข้าสู่กระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักการ
Circular Economy
(ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน)

โครงการบริหารจัดการขยะ

  • โครงการยางหล่อดอก
    พีทีจี โลจิสติกส์ จัดทำโครงการยางหล่อดอก เพื่อใช้สำหรับเปลี่ยนทดแทนการใช้ยางใหม่ ของรถสิบล้อ  หัวลาก และกึ่งพวง (หาง)  ของบริษัท   ซึ่งกำหนดให้มีการเปลี่ยนยางที่ล้อตามเท่านั้น ( ยกเว้นล้อหน้าและล้อขับเคลื่อนต้องใช้ยางใหม่เท่านั้น ) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ยางให้คุ้มค่าได้มากขึ้น, ช่วยลดปริมาณขยะจากยางที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว อีกทั้งยังสามารถช่วยลดปริมาณการสั่งซื้อหรือใช้ยางใหม่ได้ ส่งผลให้สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในองค์กร จากการนำยางเก่ามารีไซเคิลใช้ใหม่ โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2560 ต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบัน ในปี 2566  มีการถอดยางทั้งสิ้น จำนวน  3,272 เส้น  แต่ยางที่ผ่านการคัดตามมาตรฐานของโรงหล่อยาง มีเพียง 930 เส้น  โดยในปี 2566 บริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ถึง  5,637,100 บาท
  •  โครงการที่ได้รับใบประกาศเกียรติคุณ โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme: LESS) จาก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    - กิจกรรมคัดแยกขวดพลาสติกเพื่อการรีไซเคิล (1 kgCO2eq) การนำขวดพลาสติกไปผลิตเป็นเสื้อ เพื่อมอบให้กับคุณครู และนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านรักไทย จังหวัดพิษณุโลก  

    - โครงการคัดแยกขยะรีไซเคิล ภายในอาคารสำนักงาน ประจำปี 2565 (17.208 tCO2eq) 

    -  โครงการแยกขยะโลกสดใส (887 kgCO2eq) 
     
    - โครงการยิ่งแยกยิ่งเจริญ (51 kgCO2eq)


โครงการสำคัญอื่น ๆ เกี่ยวกับการจัดการขยะ

  • โครงการ Say No Plastic
    โครงการอาสาสมัคร ลด ละ เลิก ใช้แก้ว / ขวดพลาสติก โดยเปลี่ยนมาใช้แก้วส่วนตัว โดยจัดกิจกรรมภายในสำนักงานใหญ่
  • โครงการ PUNTHAI CARBON THIS WAY
    -   กิจกรรมรณรงค์การใช้แก้วส่วนตัว ในการซื้อกาแฟที่ร้านกาแฟพันธุ์ไทย เพื่อลดขยะจากแก้วพลาสติก โดยมีการสะสมคะแนนเพื่อแลกเครื่องดื่มพันธุ์ไทย และแก้วส่วนตัว
    - กิจกรรมลดคาร์บอนจากเครื่องดื่ม คือ การรณรงค์ให้ผู้บริโภคลดความหวานของเครื่องดื่มจากปกติ โดยการลดปริมาณความหวานสามารถช่วยลดปริมาณการคาร์บอนจากสารให้ความหวานได้ โดยมีการให้ Points กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม
    -   กิจกรรม Drop-off Recycling Bin คือ การประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้ลูกค้าและพนักงานที่ซื้อเครื่องดื่ม นำแก้วมาแยกขยะก่อนทิ้ง โดยมีการสะสมคะแนนเพื่อแลกเครื่องดื่มพันธุ์ไทย และแก้วส่วนตัว

หมายเหตุ : การดำเนินโครงการ PUNTHAI CARBON THIS WAY เป็นโครงการนำร่องโดยดำเนินโครงการภายในพันธุ์ไทยสาขาสำนักงานใหญ่ อาคาร CW Tower และทำโครงการเฉพาะพนักงาน เท่านั้น

  • โครงการจุดคัดแยกขยะ เป็นโครงการสร้างโรงคัดแยกขยะในพื้นที่คลังน้ำมัน โดยสร้างเป็นพื้นที่ทิ้งขยะตามแต่ละประเภทขยะ ซึ่งเป็นโครงการเพื่อส่งเสริมและสร้างความตระหนักให้มีการคัดแยกขยะที่คลังน้ำมัน

  • โครงการพัฒนาการจัดการขยะที่ต้นทางร่วมกับกรุงเทพมหานคร สสส. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการคัดแยกและการนำไปใช้ประโยชน์ต่อ พร้อมสร้างฐานข้อมูลกลาง ด้านขยะของสถานีบริการ เพื่อลดปริมาณขยะที่ต้องถูกนำไปฝังกลบของสถานีบริการ

  • โครงการ Perk from Tash
    โครงการที่เป็นการรวบรวมขยะรีไซเคิลส่งอาคาร CW เพื่อรับ Point และสามารถนำ Point ไปแลกสิทธิประโยชน์ให้บริษัทได้ เช่น เป็นส่วนลดค่าบริการเครื่องปรับอากาศนอกเวลา เป็นต้น
  • โครงการ e-Document
    โครงการปรับเปลี่ยนแบบฟอร์มกระดาษขอใช้บริการต่างๆ ผ่าน Work Flow โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายกระบวนการทางธุรกิจดิจิทัล โดยดำเนินการจากความคิดริเริ่ม 'Paperless Office' เพื่อขับเคลื่อนประสิทธิภาพด้านต้นทุน การลดใช้กระดาษ การดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บเอกสารแบบรวบรวมไว้ที่ศูนย์กลาง และการจัดการเอกสารแบบอัตโนมัติ ) โดยปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของการดำเนินการพัฒนาโครงการ

การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

                 พีทีจีได้กำหนดแนวทางในการจัดซื้อและจัดจ้างสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมให้พนักงานได้ใช้สินค้าและบริการที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่กระบวนการผลิต ซึ่งเป็นการส่งเสริมการลดการใช้ทรัพยากรที่สิ้นเปลืองและลดมลภาวะที่อาจเกิดขึ้นจากการผลิตสินค้าและบริการ นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้พนักงานทุกคนมีความตระหนักในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยมีส่วนร่วมในการเลือกสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

                  ในการเลือกใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้น ผู้จัดซื้อสินค้าจะต้องพิจารณาถึงการรับรองสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น สินค้าที่ได้รับรองฉลากเขียว, ฉลากประหยัดพลังงานเบอร์ 5, ฉลากประสิทธิภาพสูง, ฉลากคาร์บอนฟุตพรินต์ เป็นต้น เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าและบริการที่เลือกซื้อจะไม่ก่อให้เกิดมลภาวะที่ส่งผลทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่หากไม่สามารถเลือกสินค้าที่ได้รับการรับรองสินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ จัดซื้อสินค้าสามารถพิจารณาเลือกสินค้าและบริการจากเกณฑ์ดังต่อไปนี้ โดยเปรียบเทียบสินค้าหรือบริการที่จะทำการเลือกใช้งานใหม่กับสินค้าหรือบริการที่ใช้งานเดิมอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งมีเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1.1.1 ใช้วัสดุที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย เช่น วัสดุไม่มีพิษ วัสดุหมุนเวียนทดแทนได้ วัสดุรีไซเคิล และวัสดุที่ใช้พลังงานต่ำในการจัดหา

1.1.2 ใช้วัสดุน้อย เช่น น้ำหนักเบา ขนาดเล็ก มีจำนวนประเภทของวัสดุน้อย

1.1.3 มีเทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ใช้พลังงานสะอาด ลดการเกิดของเสียจากกระบวนการผลิต และลดขั้นตอนของกระบวนการผลิต

1.1.4 มีระบบขนส่งและจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ลดการใช้หีบห่อบรรจุภัณฑ์ที่ฟุ่มเฟือย ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุที่ใช้ซ้ำหรือหมุนเวียนใช้ใหม่ได้ และเลือกใช้เส้นทางการขนส่งที่ประหยัดพลังงานที่สุด

1.1.5 ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดในช่วงการใช้งาน เช่น ใช้พลังงานต่ำ มีการปล่อยมลพิษต่ำในระหว่างการใช้งาน ลดการใช้วัสดุสิ้นเปลือง และลดการใช้ชิ้นส่วนที่ไม่จำเป็น

1.1.6 มีความคุ้มค่าตลอดชีวิตการใช้งาน เช่น มีความทนทาน สามารถซ่อมแซมและดูแลรักษาง่าย และสามารถปรับปรุงต่อเติมได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย

1.1.7 มีระบบการจัดการหลังหมดอายุการใช้งานที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น มีการออกแบบให้สามารถนำสินค้าหรือชิ้นส่วนกลับมาใช้ซ้ำหรือหมุนเวียนใช้ใหม่ได้ง่าย หรือหากต้องกำจัดทิ้งสามารถนำพลังงานกลับคืนมาใช้ได้

                  การจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในกรณีที่บริษัทฯ มีการจ้างงานจากบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกมาดำเนินการแทนภายในบริษัทฯ ควรมีการคัดเลือกบุคคลหรือหน่วยงานที่เหมาะสม กล่าวคือ ต้องมีมาตรฐานการดำเนินงานที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยมีคุณสมบัติดังนี้

1. ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมระดับประเทศหรือระดับสากล

2. มีความพร้อมของการป้องกันมลพิษต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน เช่น มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง

3. มีความพร้อมของการป้องกันอันตรายจากการก่อสร้างหรือการปฏิบัติงาน

4. ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

5. พนักงานของหน่วยงานได้รับการฝึกอบรมด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ

10076

10074

Loading...