การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

PTG ได้ดำเนินการระบุประเด็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญและแนวทางป้องกันการละเมิดที่อาจเกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทานและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ในปี 2566 บริษัทได้ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนครอบคลุมร้อยละ 100 ของกิจกรรมทางธุรกิจ ทั้งกลุ่มธุรกิจ Oil และ Non-Oil ภายใต้หลักการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความยั่งยืนขององค์กร

โดยบริษัทได้ดำเนินการร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการระบุและวางแนวทางป้องกัน ผ่านการประชาพิจารณ์กับชุมชน การสำรวจความคิดเห็นจากพนักงาน การประเมินความพึงพอใจของลูกค้า การรับข้อร้องเรียนผ่าน whistle blowing และการบริการด้าน call center รวมถึงการตรวจประเมินคู่ค้า ข้อมูลที่ได้รับถูกนำมาใช้ในการปรับปรุงมาตรการด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล บริษัทได้เปรียบเทียบเกณฑ์โอกาสเกิด (likelihood) กับหลักเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงองค์กร และระดับผลกระทบ (Impact) กับหลักสากลของสหประชาชาติ (United Nation Guiding Principle on Business and Human Rights) และพิจารณาประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน รวมถึงบุคคลที่อาจได้รับผลกระทบ ครอบคลุม พนักงาน ชุมชนและสิ่งแวดล้อม คู่ค้าและผู้รับเหมา และลูกค้า ซึ่งประเด็นที่มีการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ได้แก่

กระบวนการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

พีทีจี ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน โดยการประเมินความเสี่ยง 2 ประเภท คือ 1) ความเสี่ยงตามลักษณะธรรมชาติ: ความเสี่ยงที่ปราศจากการควบคุมหรือมาตรการบรรเทาผลกระทบ และ 2) ความเสี่ยงที่หลงเหลืออยู่: ความเสี่ยงที่หลงเหลืออยู่ หลังการควบคุมหรือมาตรการบรระเทาผลกระทบ ซึ่งจะมีการทบทวนผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนตามขั้นตอนการประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนทุกๆ หนึ่งปี และดำเนินการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนทุกๆ 3 ปี หรือเมื่อมีเหตุการณ์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยง/ผลกระทบเกิดขึ้น รวมทั้งมีการติดตาม และทบทวนความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนเป็นรายไตรมาส

ในการจัดลำดับความเสี่ยงของประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน บริษัทอ้างอิงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่มีความเสี่ยงที่หลงเหลืออยู่ในระดับสูง-สูงมาก โดยบริษัทกำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบสำหรับทุกประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

บริษัทใช้เมตริกซ์ความเสี่ยง 5 ระดับ (ต่ำมาก-สูงมาก) เพื่อประเมินระดับความเสี่ยงของแต่ละประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน โดยเปรียบเทียบเกณฑ์โอกาสเกิด (แกน X) และระดับผลกระทบ (แกน Y)

ระดับความเสี่ยง โอกาสเกิด (ความถี่) ผลกระทบ
ระดับผลกระทบ จำนวนผู้ได้รับผลกระทบ ความสามารถในการเยียวยา
5
(สูงมาก)
เกิดขึ้นมากกว่า 1 ครั้งต่อเดือน ผู้มีส่วนได้เสียเสียชีวิต มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในวงกว้าง หรือเกินขอบเขตของพื้นที่ปฏิบัติการ ไม่สามารถควบคุมหรือบรรเทาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ให้กลับสู่สภาวะปกติ และ/หรือใช้ระยะเวลาในการเยียวยามากกว่า 5 ปี
4
(สูง)
เกิดขึ้น 1 ครั้งต่อเดือน ผู้มีส่วนได้เสียทุพพลภาพ มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องมากกว่า 1 กลุ่มขึ้นไป(เช่น กระทบทั้ง ลูกค้าและพนักงาน เป็นต้น) ควบคุมหรือบรรเทาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนให้กลับสู่สภาวะปกติได้ในระยะเวลา 3-5 ปี
3
(ปานกลาง)
เกิดขึ้น 4-6 ครั้งต่อปี ผู้มีส่วนได้เสียได้รับบาดเจ็บสาหัสและ หยุดงานเกินกว่า 3 วัน มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียส่วนใหญ่ เพียง 1 กลุ่ม (เช่น ลูกค้า หรือคู่ค้า หรือชุมชน หรือ พนักงาน หลายราย) สามารถควบคุมหรือบรรเทาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนให้กลับสู่สภาวะปกติได้ในระยะเวลา 1-3 ปี
2
(ต่ำ)
เกิดขึ้น 2-3 ครั้งต่อปี ผู้มีส่วนได้เสียได้รับบาดเจ็บและต้องพบแพทย์ มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียบางส่วน เพียง 1 กลุ่ม (เช่น กระทบแค่ ลูกค้า หรือคู่ค้า หรือชุมชน หรือพนักงาน บางส่วนเท่านั้น) สามารถเยียวยาผู้มี่ส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องให้กลับสู่สภาวะปกติได้ในระยะเวลา มากกว่า 3 เดือน แต่น้อยกว่า 1 ปี
1
(ต่ำมาก)
เกิดขึ้น 1 ครั้งต่อปี ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ อนามัย และความปลอดภัยของพนักงาน หรือผู้มี่สวนได้เสีย (การปฐมพยาบาลเองเบื้องต้น) ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง สามารถควบคุมหรือบรรเทาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ให้กลับสู่สภาวะปกติได้ในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน

ขอบเขตการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

ธุรกิจ OIL และ Non-oil
ห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ จัดหา ขนส่ง จัดเก็บ การตลาด หน่วยงานสนับสนุน
กิจกรรมทางธุรกิจ ● น้ำมัน
● ก๊าซ LPG
● วัตถุดิบและอุปกรณ์สำหรับธุรกิจค้าปลีก
● น้ำมัน
● วัตถุดิบและอุปกรณ์สำหรับธุรกิจค้าปลีก
● น้ำมัน
● ก๊าซ LPG
● สถานีบริการน้ำมันและก๊าซ LPG
● ร้านจำหน่ายก๊าซหุงต้ม
● ร้านสะดวกซื้อ
● ร้านกาแฟและเครื่องดื่ม
● ศูนย์บริการและซ่อมบำรุง
● ฝ่ายทรัพยากรบุคคล
บริษัท ● บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด มหาชน
● บริษัท ปิโตรเลียมไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด
● บริษัท พีทีจี โลจิสติก จำกัด
● บริษัท บีพีทีจี จำกัด
● บริษัท แอตลาส เอ็นเนอยี จำกัด
● บริษัท กาแฟพันธุ์ไทย จำกัด
● บริษัท จี เอฟ เอ คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์ ) จำกัด
● บริษัท สยาม ออโต้แบคส์ จำกัด
● บริษัท แมกซ์ การ์ด จำกัด
● บริษัท แมกซ์ โซลูชัน เซอร์วิส จำกัด

ผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนกลุ่มบริษัท พีทีจี และบริษัทร่วมค้า

ร้อยละของกิจกรรมทางธุรกิจที่ได้รับการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธมนุษยชน หมายเหตุ*: บริษัทมีมาตรการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนในทุก ๆ กิจกรรมทางธุรกิจ

ผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของคู่ค้า


ดาวน์โหลดการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

มาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบสำหรับประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

10076

10074

Loading...