การกำกับดูแลกิจการที่ดี

พีทีจี กำหนดนโยบายด้านการกำกับดูแลกิจการ การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น จริยธรรมและจรรยาบรรณทางธุรกิจ และแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการทำหน้าที่ในการกำกับดูแลให้การดำเนินงานของกลุ่มบริษัทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ รวมถึงทบทวนและปรับปรุงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการให้มีความเหมาะสมต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติระดับสากล

คณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 10 คน โดยมีกรรมการที่มิใช่ผู้บริหารจำนวน 8 คน กรรมการที่เป็น ผู้บริหาร 2 คน และกรรมการอิสระตามนิยามคุณสมบัติกรรมการอิสระของบริษัทฯ และประกาศคณะกรรมการกำกับ ตลาดทุนของสำนักงาน ก.ล.ต. จำนวน 4 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566) ซึ่งกรรมการทุกคนเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ ครบถ้วนและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ทักษะ และประสบการณ์ที่หลากหลาย สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท นอกจากนี้ บริษัทได้กำหนดให้ กรรมการบริษัท ทุกคนดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทจดทะเบียนไม่เกิน 5 บริษัท เพื่อให้มั่นใจว่ากรรมการบริษัท สามารถอุทิศเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรและ เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี



1. คณะกรรมการบริหาร
จำนวน 3 คน เป็นกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร 1 คน
2.คณะกรรมการตรวจสอบ
จำนวน 3 คน เป็นกรรมการอิสระ
3.คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน
จำนวน 3 คน เป็นกรรมการอิสระ 2 คน (67%)
4. คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ
จำนวน 3 คน เป็นกรรมการอิสระ 2 คน (67%)
5. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
จำนวน 3 คน เป็นกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร 2 คน และเป็นกรรมการที่เป็นผู้บริหาร 1 คน

บริษัทให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมที่มีความหลากหลายทางเพศอย่างเหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าการสรรหากรรมการเป็นไปอย่างเท่าเทียม โดยในกระบวนการสรรหาและเสนอรายชื่อเพื่อแต่งตั้งกรรมการจะมีการรวมรายชื่อบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ เข้าไปในขั้นตอนการสรรหาและเสนอรายชื่อ ซึ่งคณะกรรมการสรรหาและกำกับดูแลกิจการจะเป็นผู้รับผิดชอบและดูแลกระบวนการดังกล่าวให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ บริษัทมุ่งมั่นที่จะสนับสนให้มีสัดส่วนของ กรรมการที่มีความหลากหลายทางเพศที่แตกต่างอย่างน้อย ร้อยละ 30 ในจำนวนคณะกรรมการทั้งหมด ซึ่งรวมถึงแต่ไม่ จำกัดเพียงเพศชาย เพศหญิง และเพศต่างๆ ที่ไม่ใช่ชายและหญิง (นอน-ไบนารี่) อย่างไรก็ตาม การพิจารณาสัดส่วนดังกล่าว จะต้องขึ้นอยู่กับทักษะและประสบการณ์ของคณะกรรมการที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจเป็นสำคัญ



นโยบายที่เกี่ยวข้อง

ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของคณะกรรมการบริษัท (Board Industry Experience & Expertise)

พีทีจี ได้พิจารณาถึงองค์ประกอบในเรื่องความหลากหลายของคณะกรรมการ ได้แก่ สัดส่วนกรรมการอิสระและกรรมการที่เป็นเพศหญิง (ความหลากหลายทางเพศ) ความหลากหลายทางเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา อายุ รวมถึงทักษะ ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอันสอดคล้องกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท (Materials Industry) ตาม Board Skills Matrix รวมทั้งได้พิจารณาจากบัญชีรายชื่อหรือฐานข้อมูลกรรมการ (Director’s Pool) และสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)เพื่อส่งเสริมให้องค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทมีความหลากหลายและเหมาะสมตามที่กำหนด











การจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด
นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้มีแผนการคัดเลือกบุคลากรที่จะเข้ามารับผิดชอบในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม โปร่งใส และมั่นใจว่าบริษัทจะได้ผู้บริหารระดับสูงที่มีความเป็นมืออาชีพ และบริหารได้โดยเป็นอิสระจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือรายใด โดยมี คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน เป็นผู้จัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้พิจารณา ในการสรรหาประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน จะพิจารณาจากบุคคลที่มีทักษะ ประสบการณ์วิชาชีพ คุณสมบัติเฉพาะด้านที่มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท (CEO’s Success Profile) รวมถึงกรณีไม่ให้มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และนำเสนอชื่อต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณา นอกเหนือจากการสรรหา คัดเลือก และเสนอบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่แล้ว บริษัทยังได้จัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้ารับตำแหน่ต่อเนื่อง

ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ถือหุ้น นักลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายว่าการดำเนินงานของบริษัทจะได้รับการสานต่ออย่างทันท่วงที คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดนโยบายให้มีการสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการสืบทอดตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ทั้งจากบุคคลภายในและบุคคลภายนอก เพื่อให้ได้บุคคลที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลาของบริษัท โดยคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนจะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการสรรหาคัดเลือกไว้อย่างชัดเจน คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน จะทบทวนรายละเอียด และสรุปผลการจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เป็นประจำทุกปี และรายงานต่อคณะกรรมการบริษัททราบ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง












การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ

พีทีจี กำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในรูปแบบการประเมินรายบุคคลและรายคณะ 2 รูปแบบดังนี้ 1) การประเมินคณะกรรมการบริษัท และ 2) ประเมินคณะกรรมการชุดย่อย พร้อมทั้งจัดทำรายงานผลประเมินและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการบริษัทเพื่อให้บริษัท สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุง ติดตาม และพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทต่อไป ทั้งนี้องค์ประกอบหลักในการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วย 6 ด้าน ดังนี้
หมายเหตุ: ในปี 2566 ที่ผ่านมาคณะกรรมการบริษัทมีการประชุมในรูปแบบ Physical จำนวน 11 ครั้ง  และการประชุมคณะกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร (NED) จำนวน 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 เพื่อหารือเพื่อร่วมกันปรึกษาหารือในการกำกับดูแลการบริหารงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายหลักขององค์กร และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ประธานกรรมการฯ ได้สรุปประเด็นการหารือนำเสนอต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เพื่อรับทราบประเด็นดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว

    

ทั้งนี้เพื่อให้การกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการบริษัทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กรรมการแต่ละคนควรเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนการประชุมคณะกรรมการบริษัททั้งหมดที่ได้จัดให้มีขึ้นในรอบปี
ตัวชี้วัด คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหาร
ความเสี่ยง
คณะกรรมการ
กำกับแลกิจการ
คณะกรรมการสรรหา
และพิจารณาค่าตอบแทน
จำนวนการประชุม (ครั้ง) 11 13 12 4 7 6
สัดส่วนการเข้าร่วมประชุม (%)
100 100 100 100 100 100
ผลการประเมินการปฏิบัติงานรายคณะ (%) 96.77 98.90 100 97.20 95.60 97

การพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการ

ตามนโยบายของบริษัท พีทีจี ส่งเสริมให้กรรมการทุกท่านได้รับการพัฒนาและเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพเพิ่มเติม อาทิ การเข้าอบรมหลักสูตรจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Institute of Thai Directors: IOD) หรือหลักสูตรและการสัมนาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท โดยในปี 2565 กรรมการบริษัทได้เข้าอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ ดังนี้ต่าง ๆ ดังนี้

จรรยาบรรณธุรกิจและการต่อต้านการทุจริต

คณะกรรมการบริษัท ได้กำหนดให้มีคู่มือจริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจของกลุ่มบริษัท เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ นับตั้งแต่การปฏิบัติต่อพนักงาน ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า คู่แข่งทางการค้า ผู้มีส่วนได้เสีย และสังคมโดยรวม เพื่อให้การดำเนินธุรกิจของบริษัท มีประสิทธิภาพ มีจริยธรรม โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ พร้อมทั้งกำหนดให้มีแนวปฏิบัติการติดตามการปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจ และรายงานผลต่อคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ เพื่อให้มีการติดตามการปฏิบัติตามจริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัท และส่งเสริมให้มีการดำเนินการจัดการกรณีที่ฝ่าฝืนจริยธรรม และจรรยาบรรณธุรกิจอย่างมีประสิทธิพ


บริษัทได้ปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น ซึ่งได้รับการรับรองจากโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น (Collective Action Coalition: CAC  มาโดยตลอด โดยได้ร่วมลงนามในคำประกาศเจตนารมณ์ของแนวร่วมปฏิบัติ ของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2557 และได้รับการต่ออายุการรับรองเข้าเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต ตั้งแต่วันที่  31 ธันวาคม 2564 และสิ้นสุดการรับรองในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)

อีกทั้ง บริษัทฯ ไม่พบประเด็นปัญหาหรือข้อบกพร่อง ที่เป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการแข่งชัน การทำลายความ น่าเชื่อถือ การผูกขาดทางการค้า เหตุการณ์เลือกปฏิบัติ เหตุทุจริตคอร์รัปชัน ตลอดจนไม่มีค่า ปรับหรือการถูกลงโทษที่ไม่ใช่การปรับ อันเนื่องจากการดำเนินงานไม่สอดคล้องกับกฎหมายและในปีที่ผ่านมา คณะกรรมการและผู้บริหารของบริษัทไม่มีการกระทำผิดเกี่ยวกับจริยธรรม


การสื่อสารและกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการต่อต้านการทุจริต

การสนับสนุนองค์กร และสมาคมภายนอก

       
รายชื่อองค์กร จำนวนเงินที่สนับสนุน (บาท)
2561 2562 2563 2564 2565 2566
สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย
100,000



สมาคมอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมัน (IESG) 225,000 225,000 900,000 495,000 225,000 225,000
สมาคมคนพิการภาคตะวันออก 1,239,000 50,000



สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย 7,000 25,000 25,000 25,000
50,000
สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ 100,000 100,000

100,000
สมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน 30,000 30,000 30,000 60,000 30,000
สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย 30,000




สมาคมกีฬารถจักรยานยนต์ 360 องศา
450,000



สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
75,000

78,972 39,009
สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย
3,000 1,250
3,000 3,000
สมาคมประสานงานรถรับจ้างสุวรรณภูมิ


98,400

สมาคมเยาวชนสตาร์ทอัพ


300,000

สภากาชาดไทย


50,000
20,000
สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย



21,000
สมาคมส่งเสริมคุณภาพอากาศในอาคาร



36,000
หอการค้าไทย



46,000 23,000
สมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทายาลัยสงขลานครินทร์




50,000
สมาคมศิษย์เก่าแสงทอง




50,000
สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย




200,000
สมาคมบริหารงานจัดซื้อและซัพพลายเชนแห่งประเทศไทย




48,088
สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน




276,450
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)




210,262
สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย




50,000
รวม 1,631,000 1,058,000 956,250 1,028,400 539,972 1,244,809

การดำเนินการด้านภาษี

พีทีจี มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และตระหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการด้านภาษี จึงได้กำหนดนโยบายภาษีขึ้นมาเพื่อเป็นกรอบในการทำงานของกลุ่มบริษัท และรักษาผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายควบคู่ไปกับการสร้างมูลค่าเพิ่มสูงสุดตามหลักบรรษัทภิบาลที่มีประสิทธิภาพ เพียงพอ โปร่งใสและมีจริยธรรม

ดาวน์โหลดนโยบายภาษี

รายงานภาษี

ปี 2566 พีทีจี มีภาษีเงินได้ เท่ากับ 260.82  ล้านบาท โดยอัตราภาษีที่แท้จริง (effective tax rate) ที่บริษัทจ่าย เท่ากับ 21.26 %
(อัตราการเสียภาษีตามประมวลรัษฎากรของกฏหมายสำหรับประเทศไทย ร้อยละ 20 )
การรายงานทางการเงิน หน่วย 2564 2565 2566
รายได้ก่อนหักภาษี ล้านบาท 1,277.44 1,314.23 1,226.57
ภาษีจ่าย ล้านบาท 260.60 361.06 260.82
อัตราภาษีที่แท้จริง % 20.40% 27.47% 21.26%
ภาษีเงินสด ล้านบาท 515.75 361.16 452.79
อัตราภาษีเงินสด % 40.37% 27.48% 39.91%

การถือครองหุ้นของผู้บริหาร

จำนวนหุ้นที่ถือครองโดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารระดับสูง (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566)
ตำแหน่ง ชื่อ-นามสกุล จำนวนเท่าของค่าตอบแทนรายปี
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ นายพิทักษ์ รัชกิจประการ 1.06
จำนวนโดยเฉลี่ยการถือครองหุ้นโดยผู้บริหารระดับสูง* นายรังสรรค์ พวงปราง
นายชัยวัตน์ เลิศวนาริทร์
นางสุขวสา ภูชัชวนิชกุล
ดร.วัลภา สันติธรรมารักษ์
นางนัดดาวดี สุวรรณนาคินทร์
0.08
หมายเหต : *ผู้บริหารตามนิยามของสำนักงาน ก.ล.ต.
จำนวนหุ้นที่ถือครองของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ = จำนวนหุ้นที่ถือครอง ณ สิ้นปี /ค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูงรวม CEO


10076

10074

Loading...