การดูแลรักษาพนักงาน

การประเมินผลปฏิบัติงานประจำปี

          พีทีจี จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นประจำทุกปี เพื่อติดตามผลการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านกระบวนการให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) และการให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา ปรับปรุง และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Coaching and Improvement) อีกทั้งมีการวัดผลการดำเนินงานของผู้บริหารและพนักงานตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยบริษัทได้กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานที่ครอบคลุมและสอดคล้องกับกลยุทธ์และทิศทางขององค์กร ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว อาทิ ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานด้านการเงิน (Financial) ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ด้านการเงิน (Non-Financial) และตัวชี้ผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability Development) โดยทำการถ่ายตัวชี้วัดผลการดำเนินงานสู่ระดับองค์กร (Corporate Level) ระดับฝ่าย ระดับฝ่าย (Division Level) และรายบุคคล (Individual Level) ตามที่เกี่ยวข้อง อีกทียังมีตัวชี้วัดด้านพฤติกรรมตามค่านิยมองค์กร (Do Your BEST)

          สำหรับผู้บริหาร (Level 9 – 14) บริษัทจัดให้มีการประเมินในรูปแบบ 360 องศา ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินพฤติกรรมและศักยภาพของบุคคล โดยเป็นการประเมินตนเอง และได้รับการประเมินโดยคนรอบข้างไปพร้อมๆ กัน คือ ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้ได้รับทราบเกี่ยวกับพฤติกรรมจากหลากหลายมุมมอง และสามารถระบุประเด็นที่ต้องพัฒนาสำหรับบุคคลนั้นๆ ได้อย่างแม่นยำ


ผลตอบแทนและสวัสดิการ

          พีทีจี ให้ความสำคัญต่อการกำหนดค่าตอบแทนและสวัสดิการของพนักงาน โดยคำนึงถึงความเหมาะสม เป็นธรรม เพื่อให้พนักงานและครอบครัว อยู่ดี มีสุข ซึ่งองค์ประกอบค่าตอบแทนและสวัสดิการของบริษัท ได้แก่

• เงินเดือน: บริษัทกำหนดอัตราเงินเดือนของพนักงานให้สอดคล้องกับค่างานตามตำแหน่งงาน ค่าครองชีพ ค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย และพิจารณาให้อยู่ในระดับเทียบเคียงได้กับธุรกิจชั้นนำประเภทเดียวกันในประเทศไทย และสภาวะการแข่งขันของธุรกิจในปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ยังมีโครงการเบี้ยเลี้ยพื้นที่พิเศษ ในเขตพื้นที่ที่มีการแข่งขันตลาดแรงงานสูงอีกด้วย
• สวัสดิการและค่าตอบแทนจูงใจระยะสั้น: บริษัทมอบสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ให้แก่พนักงานทุกระดับชั้น ได้แก่ โบนัสประจำปี เงินรางวัลตามยอดขาย สวัสดิการส่วนลดในการซื้อสินค้าและบริการของกลุ่มบริษัท แผนประกันชีวิตและสุขภาพของพนักงาน การตรวจสุขภาพประจำปี สวัสดิการช่วยเหลือยามเกิดอุบัติเหตุ เหตุฉุกเฉินหรือประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อพนักงาน และการให้สิทธิ์พนักงานในการซื้อแผนประกันชีวิตให้แก่สมาชิกครอบครัวในราคาสวัสดิการ เพื่อเสริมสร้างชีวิตความเป็นอยู่ และสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ อีกทั้ง บริษัทมีนโยบายและระบบการทำงานที่ยืดหยุ่นที่สามารถทำงานแบบ Flexible Workplace และ Flexible Time ที่อนุญาตให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานจากที่ใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องบันทึกเวลาการทำงานทุกครั้ง ในกรณีที่ต้องการทำงานล่วงเวลา จะต้องเป็นกรณีที่มีลักษณะหรือสภาพของงานที่จำเป็นต้องดำเนินการติดต่อกันไป หากมีการหยุดจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพงาน หรือเป็นงานที่มีลักษณะเร่งด่วน ในกรณีเช่นนี้ บริษัทสามารถให้พนักงานทำงานล่วงเวลาหรือในวันหยุดโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม หากงานนั้นไม่ใช่ลักษณะงานที่กล่าวถึงข้างต้น บริษัทจะต้องได้รับความยินยอมจากพนักงานก่อนการทำงานล่วงเวลา โดยทั้งการทำงานในวันหยุดและการทำงานล่วงเวลาจะต้องไม่เกิน 36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพื่อรักษาสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวของพนักงาน นอกจากนี้ บริษัทยังคำนึงถึงการเสริมสร้างสถาบันครอบครัวและสิทธิเด็ก โดยการให้สวัสดิการพิเศษแก่พนักงานหญิงที่ตั้งครรภ์ให้มีสิทธิในการลาคลอดบุตร ติดต่อกันไม่เกิน 98 วัน รวมวันหยุดโดยได้รับค่าจ้าง เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานปกติ ตลอดระยะเวลาที่ลาแต่ไม่เกิน 45 วัน และจะได้รับค่าจ้างตามสิทธิจากประกันสังคมอีก 45 วัน
• ค่าตอบแทนจูงใจระยะยาว: บริษัทจัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับพนักงาน เพื่อให้เป็นเงินออมหลังเกษียณ และให้สิทธิในการซื้อหุ้นบริษัทในราคาที่กำหนด (Stock Option) ที่พนักงานจะได้รับ คือ หากบริษัทมีผลกำไรมากเท่าใดพนักงานที่ถือหุ้นของบริษัทก็จะมีมูลค่าเพิ่มได้มากขึ้นจากมูลค่าหุ้นและผลกำไรต่อหุ้น รวมถึงเงินปันผลที่มากขึ้นทุกปี ตามผลประกอบการของบริษัทที่สูงขึ้นทุกปี เพื่อให้พนักงานมีส่วนร่วมและมีสิทธิในฐานะเจ้าของกิจการคนหนึ่ง ซึ่งเป็นการสร้างความผูกพันต่อองค์กร และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทที่พร้อมจะสร้างความเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

ดาวน์โหลดนโยบายค่าตอบแทนและสวัสดิการ

การประเมินผลความผูกพันพนักงาน

          พีทีจี ให้ความสำคัญกับการสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร เพื่อให้บริษัทเข้าใจความต้องการของพนักงานและสามารถนำมาต่อยอดเป็นโครงการและกิจกรรมในการเพิ่มความผูกพันของพนักงานได้อย่างต่อเนื่อง บริษัทกำหนดให้มีการประเมินผลความผูกพันและความพึงพอใจของพนักงานต่อองค์กรทุกปี โดยมอบหมายให้ฝ่าย People & Organization Transformation เป็นผู้รับผิดชอบจัดทำการประเมินความผูกพันพนักงานประจำปี โดยได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในการทำแบบสอบถามออนไลน์ผ่านช่องทางต่างๆ ที่สะดวกและพนักงานสามารถเข้าถึงได้ง่าย เช่นการทำผ่านระบบอีเมล์ของพนักงาน และการสแกน QR-Code  บนเครื่องคอมพิวเตอร์และบนสมาร์ทโฟน การประเมินแบ่งออกเป็น 3 หมวดหลัก คือความพึงพอใจต่อองค์กร ซึ่งเป็นคำถามเชิงพฤติกรรม องค์กรที่มีพนักงานที่ผูกพันกับองค์กรในสัดส่วนที่สูง จะส่งผลต่อความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลลัพธ์ทางธุรกิจ ในมุมของการรักษาคนเก่ง การมีประสิทธิภาพขององค์กร ความพึงพอใจของลูกค้า และรายได้ขององค์กร

          การประเมินค่านิยมองค์กร และปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ ซึ่งเป็นการประเมินประสบการณ์ที่พนักงานได้พบได้เจอในองค์กร โดยพนักงานสามารถเลือกตอบระดับความพึงพอใจหรือมีส่วนร่วมได้ 6 ระดับตามประเด็นต่าง ๆ เช่น ชื่อเสียงองค์กร โอกาสในการพัฒนาศักยภาพ ความปลอดภัยในการทำงาน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา โครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากร เป็นต้น

สถิติผลสำรวจความผูกพันพนักงาน


ผลการดำเนินงานเพื่อเพิ่มความผูกพันพนักงาน

10076

10074

Loading...